รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 13

Main Article Content

รัฐภูมิ คะเลรัมย์
สมบูรณ์ ตันยะ
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 13 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 4) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 7 คนและครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน   7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 2) ศึกษาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จากกลุ่มตัวอย่างเป็นครู 361 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก  โดยนำผลจากตอน 2 มาใช้เป็นหลักในการสร้างรูปแบบและจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group)  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบพร้อมทั้งประเมินความเหมาะสม 4) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์


          ผลการวิจัยพบว่า


    1. สมรรถนะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามกรอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นทุกสมรรถนะและมีตัวบ่งชี้เพิ่มเติมในสมรรถนะแต่ละด้านที่ผู้บริหารและครูให้ความเห็นจำนวน 18 ข้อ


          2. สมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน


          3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) สาระสำคัญและการดำเนินการ 4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ 5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับ มากที่สุด


          4. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กนิน แลวงค์นิล. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสําานักงานเขตพื้นมัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

ตรีนุช เทียนทอง. (2564). คําาแถลงนโยบายการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย นเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2550). ความเป็นครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุรเดช โสมาบุตรและพัฒนานุสรน์ สถาพรวงศ์ . (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สําานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสําานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายสําานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ.กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560) .รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 .สํานักการพิมพ์ สําานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สํานักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : สําานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Boam,R. and Sparrow,P. (1992). Designing and Achieving Competency. New York: McGraw – Hill, Reading.McCelland,D.C. (1973). Test for Competence Rather Than for Intelligence. American Psychol ogist,17(7). 57-83.