Siraporn : Developed from performance jewelry to national costume in Miss Grand Thailand Contest
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องแต่งกายที่สวยงามเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดสุนทรียภาพทางการแสดง ซึ่งประกอบไปด้วย ศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) พัสตราภรณ์ (เครื่องนุ่งห่ม) และถนิมพิมพาภรณ์ (เครื่องประดับร่างกาย)
มิสแกรนด์ไทยแลนด์เป็นการประกวดที่คัดเลือกนางงามตัวแทนแต่ละจังหวัด มาทำกิจกรรมเผยแพร่สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมโดยนำเสนอผ่านชุดประจำชาติภายใต้เอกลักษณ์วัฒนธรรมของไทย ศิราภรณ์ของนาฏศิลป์ไทย จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบใหม่
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาพัฒนาการของศิราภรณ์ไทย ประกอบชุดประจำชาติในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รู้จำนวน 3 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 3 คนและบุคคลทั่วไปจำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง นำเสนอ ผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาผู้วิจัยพบว่า มีการนำศิราภรณ์ไปใช้งานที่หลากหลายขึ้น รูปแบบและรูปทรงมีการพัฒนา ปรับ ลด ทอน เพื่อให้ผู้ที่สวมใส่เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกคล่องตัวในการนำเสนอบนเวที การประยุกต์และสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด ตามที่กองประกวดกำหนดไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นสมควรที่จะศึกษา พัฒนาการของศิราภรณ์ แนวคิดในการประดิษฐ์ การคัดเลือกวัตถุดิบ และบันทึกไว้เพื่อประโยชน์ แก่การศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ในการประกอบอาชีพในธุรกิจบนรากฐานทางวัฒนธรรม ที่ผ่านการพัฒนาปรับเปลี่ยนในยุคปัจจุบัน เพื่อให้คงอยู่เป็นมรดกที่อยู่คู่คนไทยสืบไป
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์