การศึกษารูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองที่ปรากฏในจารึกเมืองเชียงตุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องการศึกษารูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองที่ปรากฏในจารึกเมืองเชียงตุง มุ่งเน้นศึกษาข้อความในจารึกเมืองเชียงตุงจากข้อมูลในประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ 15 จารึกเมืองเชียงตุง โดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รวบรวมไว้เมื่อ พ.ศ.2556 เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ในการส่งอิทธิพลการใช้ภาษาแบบร้อยกรองจากเชียงใหม่สู่เชียงตุง โดยจารึกเมืองเชียงตุงที่มีการประพันธ์เป็นรูปแบบร้อยกรองมีอยู่จำนวน 2 หลัก ได้แก่ จารึกชัยมนตาราม พ.ศ.1994 และจารึกเมืองหลวย พ.ศ.2005 ผลการศึกษาพบว่าจารึกทั้ง 2 หลัก ใช้รูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองประเภทร่าย ทั้งนี้ยังมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนตายตัว มีลักษณะเป็นการบังคับอย่างหลวมๆ รูปแบบฉันทลักษณ์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองในจารึกเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลการใช้ภาษาแบบร้อยกรองของเมืองเชียงตุงที่รับไปพร้อมกับพระพุทธศาสนาจากเมืองเชียงใหม่
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2560). รูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองที่ได้จากการศึกษาข้อความในจารึกจังหวัดเชียงใหม่. ดำรงวิชาการ. 16(1) : 87-113.
สมหมาย เปรมจิตต์. (2519). ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ภาคปริวรรต ลำดับที่ 9. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชียงใหม่.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556). ประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ 15 จารึกเมืองเชียงตุง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และนฤมล เรืองรังสี. (2537). เรื่องเมืองเชียงตุง. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์.