ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่ง โดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีลูกทุ่งสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

jiranuwat khuntajan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในกิจกรรมดนตรีโรงเรียนเปลือยน้อยศึกษา  ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งโดยใช้แบบฝึกทักษะทางดนตรีสำหรับวงดนตรีลูกทุ่ง   กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ  นักเรียนในกิจกรรมดนตรีของโรงเรียนเปลือยน้อยศึกษา  จำนวน 15 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งโดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีลูกทุ่งสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (  )  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยรวมผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งโดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีลูกทุ่งสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา  จากผู้เรียนจำนวน  15 คน  พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม (  ) =4.27  และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)=0.71  สามารถบ่งชี้ถึงความพึงพอใจของผู้เรียนได้ว่ามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งโดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีลูกทุ่งสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษาในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

จิราพร กำจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมบัตร บารมี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มหพันธ์ไฟเอบร์ซีเมนต์ จำกัด
(มหาชน). รายงานการวิจัยคณะรัฐประสาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุเทพ เมฆ. (2531). ความพึงพอใจในบรรยากาศการเรียนการสอนของนักเรียนและครูโรงเรียน
อาชีวศึกษาเอกชน ประเภทพานิชยกรรม ในเขตการศึกษา 12. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ถ่ายเอกสาร.
Wolman,Thomas E. (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary School. Engiewood
Cliffs : New Jersey: Prentice Hall.