ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบวนเกษตร: ศึกษากรณีพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบ
วนเกษตรมาใช้ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย ศึกษากรณีพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยมีประเด็นปัญหาวิจัยในเรื่อง หลักการพัฒนา
อย่างยั่งยืน หลักนิติรัฐ ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และภารกิจของรัฐ รวมทั้งประเด็นปัญหา
ในเรื่องกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าโดยระบบวนเกษตร
ในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
ที่สนับสนุนต่อการนำระบบวนเกษตรมาใช้ในพื้นที่ป่าของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการวิจัย
นี้เป็นการวิจัยเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งเอกสารอื่น จากการศึกษาพบว่า
การนำระบบวนเกษตรมาปรับใช้ในพื้นที่ป่าของประเทศไทยนั้น มีปัญหาทางกฎหมาย 5 ประการ
ปัญหาประการแรก เป็นปัญหาเกี่ยวกับเกี่ยวกับการกำหนดคำจำกัดความของคำว่าป่า ซึ่งไม่เหมาะ
สมต่อการจัดทำระบบวนเกษตร เพราะการกำหนดพื้นที่ป่าในปัจจุบันทำให้เกิดความไม่แน่นอน
ในการเข้าใช้ประโยชน์และอาจทำให้ผู้เข้าใช้ประโยชน์ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อีกทั้ง ไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ปัญหาประการที่สอง
เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าโดยระบบวนเกษตร ซึ่งยังไม่มี
กฎหมายแม่บทที่กำหนดรายละเอียดในการใช้ประโยชน์และการให้ชุมชนได้เป็นผู้ทรงสิทธิในการ
ใช้ประโยชน์ จึงทำให้สิทธิของบุคคลและชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม
ปัญหาประการที่สาม เป็นปัญหาการขาดกระบวนการและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าโดยระบบวนเกษตร ซึ่งทำให้กระบวนการดังกล่าวไม่เปิดโอกาส
ให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วม ทำให้การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน
ในพื้นที่และนำไปสู่ความขัดแย้ง ปัญหาประการที่สี่ เป็นปัญหาการไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจดุลพินิจ
กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าโดยระบบวนเกษตรที่ต้อง
พิเคราะห์ถึงสถานการณ์เฉพาะเรื่องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเฉพาะกรณี ไม่สามารถดำเนินการ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปัญหาประการสุดท้าย เป็นปัญหาเกี่ยวกับการขาดหน่วยงานกลางที่
มีอำนาจในการจัดทำและดูแลการเข้าใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าโดยระบบวนเกษตร ซึ่งหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในปัจจุบัน คือ สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ดำเนินการจัด
ทำระบบวนเกษตรได้ตามกฎหมายและยังขาดการ บูรณาการกับหน่วยงานหรือภาคส่วนอื่นอีกด้วย
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพระราชบัญญัติ
ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยนำแนวความคิดหรือหลักการตามกฎหมายของต่างประเทศที่ได้มี
กฎเกณฑ์รับรองและสนับสนุนการใช้ระบบวนเกษตรมาพิจารณาปรับใช้ในกฎหมายของประเทศไทย
ซึ่งจะส่งผลทำให้การอนุรักษ์ จัดการ และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่ามีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อ
หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ:
วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(พิมพ์ครั้งที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2559). สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ:
นิติธรรม.
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 1417 (วันที่ 15 ตุลาคม
2484).
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 38 หน้า 263
(วันที่ 28 เมษายน 2507).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40ก
หน้า 1 (วันที่ 6 เมษายน 2560).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
วิญญูชน.
______. (2553). นิติรัฐ นิติธรรม. ในเอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บ.ก.), นิติรัฐ นิติธรรม (น. 320).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
หยุด แสงอุทัย. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 19 แก้ไขปรับปรุง).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุวัฒน์ บุญนันท์. (2554). การควบคุมการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยองค์กรตุลาการในระบบ
กฎหมายอังกฤษและระบบกฎหมายไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมาย
มหาชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2554). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ:
วิญญูชน.
Bell, S., & McGillivray, D. (2006), Environmental Law (6th ed). Oxford: Oxford University
Press.
Commodity Credit Corporation, Department of Agriculture, 7 C.F.R. § 15-1466 (2014)
Cooperative Forestry Assistance Act, 16 U.S.C. § 41-2101a (1978)
DENR Administrative Order No.96-29, Rule and Regulation for the Implementation
of Executive Order 263, (1996)
Forest and Rangeland Renewable, Resources Planning Act, 16 U.S.C. § 36-1642 (1974)
Jim, B. (2015). Global Forest Resources Assessment 2015 How are the world’s forests
changing?, CFA Newsletter, December 2015, Issue 71, 15-17.
King, K.F.S. (1987). The History of Agroforestry. In Howard, A.S. & Nair, P.K.R. (Eds.),
Agroforestry a decade of development (pp. 3-4). Kenya: Printfast Kenya
limited.
Nair, P.K.R. (1993). An introduction to agroforestry. Netherlands: Kluwer Academic
Publishers. The Agricultural Act, 16 U.S.C. § 58-3839aa (2014)
United Nations. A/RES/67/200. International Day of Forests. (2013)
______. (1992). Report of the United Nations conference on environment and
development, United Nations Conference on Environment and
Development-UNCED (Annex I).