ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษาในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษาในภาค
ตะวันออก และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จของสถานศึกษา ประชากรเป็นครูสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด สังกัดโรงเรียนเทศบาล และสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน ในภาค
ตะวันออก ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26,711 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multistage sample technique) จากจังหวัดสระแก้วและจังหวัดจันทบุรี จำนวน
564 คน ใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษาในภาค
ตะวันออก การตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้เทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงยืนยัน และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient)
ใช้สูตรของครอนบัค (Cronbach) ปรากฏว่า มีค่าความเชื่อมั่น .896 โดย การประมวลผล ข้อมูล
ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และ
สังกัด ใช้การวิเคราะห์โดยการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ทดสอบ
สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษาในภาคตะวันออก คือ ปัจจัย
ด้านวัฒนธรรมองค์กร (X3), ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X4) และ
ปัจจัยด้านระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (X5) โดยเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Logit = -14.036+
.3.183(X3)-.866(X4) +.860(X5)
ตัวแปร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร (X3), ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศและสภาพแวดล้อม
ในการทำงาน (X4) และปัจจัยด้านระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (X5) สามารถร่วมกันพยากรณ์
ความสำเร็จของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สมการพยากรณ์ถูกต้อง คิดเป็น
ร้อยละ 67.00
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ไนท์ซาฟารี. (วิทยานิพนธ์ การบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
พิมพ์ลิขิต ทองรอด. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา บริษัท อินเด็กซ์
ครีเอทีฟวิลเลจ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(2), 63-102.
วิเชียร วิทยอุดม . (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับแนวใหม่. กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์.
วรรณิภา นิลวรรณ. (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในวิทยาลัย อาชีวศึกษา สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
มนัชยา จันทเขต. (2551). ค่านิยมในการทำงานความผูกพันต่อองค์การความเชื่ออำนาจในตน
กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่่วนภูมิภาค
(สำนักงานใหญ่่). (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์์.
ยุทธ ไกรวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธณัฐชา รัตนพันธ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงาน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2553). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่นอิน
โดไซน่า.
ศศิธร ทิพโชติและมนู ลีนะวงศ์. (2557). จริยธรรมในองค์กร และการรับรู้วัฒนธรรมองค์กร
ที่มีผลต่อความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชน. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.