โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเรียนรู้ยืดหยุ่นและการปรับเปลี่ยนตนเองที่เกิด จากอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและสมรรถนะของตนเอง

Main Article Content

เฉลิมชัย โสสุทธิ์
ประกฤติยา ทักษิโณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของการ
เรียนรู้แบบยืดหยุ่น กับการปรับเปลี่ยนตนเองที่เกิดจากอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม
และสมรรถนะของตนเองกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะอิทธิพลของการเรียน
รู้แบบยืดหยุ่นกับการปรับเปลี่ยนตนเองที่เกิดจากอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและ
สมรรถนะของตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
จำานวน 658 คน ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
(Multistage Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ 1) ข้อมูล
ภูมิหลังของนักศึกษา 2) แบบวัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น 3) แบบวัดการปรับเปลี่ยนตนเอง และ 4) แบบ
วัดความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและสมรรถนะของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM)
ด้วยโปรแกรม Mplus
ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นกับการปรับเปลี่ยนตนเอง
ที่เกิดจากอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและสมรรถนะของตนเอง มีความสอดคล้องกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi Square = 42.722, df = 33, p = 0.1197, Chi Sq/df = 1.2946,
RMSEA = 0.021, CFI = 0.997, TLI = 0.994, SRMR = 0.026 และ 2) การเรียนรู้แบบยืดหยุ่นได้
รับอิทธิพลทางตรงจากการปรับเปลี่ยนตนเอง และความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม และสมรรถนะของ
ตนเอง นอกจากนั้นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม และสมรรถนะของตนเองยังส่งผลทางอ้อมไปยัง
การเรียนรู้แบบยืดหยุ่นโดยผ่านการปรับเปลี่ยนตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). หลากหลายรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา Critical
และ Creative Thinking ของผู้เรียน. สำานักพัฒนาคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (มปท.).
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. เชียงใหม่นิวส์
21 พฤศจิกายน (2559) : 7.
ประสาท จูมพล . (2549). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจใน
การเรียนรู้แบบยึดหยุ่นของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2552). แนวคิดเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ Flexible Learning.
ค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2560, จาก www.kku.ac.th
________. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
________. (2545). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำาหรับ
นักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ
การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Carl, R. Roger. (1969). A Way of Being. Boston : Hougton Mifflin Company. ChungTeh
Fan. citing in Srisopa. 1977:160-161.
Gardner, Howard.(1983). Theory of Multiple Intelligences. (Online). ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม
2560, จาก pirun.ku.ac.th/~g521460099/fles/ทฤษฎีการเรียนรู้พหุปัญญา.doc