รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสาธารณะเพื่อการจัดการท่องเที่ยวของ แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสาธารณะเพื่อการจัดการท่องเที่ยวของแหล่ง
ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษา
รูปแบบและกระบวนการ จัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะของนักท่องเที่ยว
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการพัฒนาจิตสำานึกสาธารณะผ่าน
กิจกรรมท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมการ
จัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในการเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะของนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเป็นการ
วิจัยเชิงผสมผสาน กล่าวคือ ศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำาหรับการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการ
เก็บแบบสำารวจจากพระสังฆาธิการ และพระสงฆ์ที่รับผิดชอบการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา
และวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการพัฒนาจิตสำานึก
สาธารณะจำานวน 400 รูป ขณะที่การศึกษาเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการสัมภาษณ์จากพระสังฆาธิการ พระ
สงฆ์นักวิชาการ วัฒนธรรมจังหวัด ตลอดจนตัวแทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ปฏิบัติหน้าที่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำานวน 30 รูป/คน เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยว
เชิงพุทธ ตลอดจนแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในการเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะ
ของนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า ประการที่ 1 รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อเสริม
สร้างจิตสำานึกสาธารณะของนักท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบและ
กระบวนการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะโดยเครือข่ายภาคเอกชน
2) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะโดยการดำาเนินการของ
แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม และ 3) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยว
เพื่อเสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะเชิงอาสาสมัคร ประการที่ 2 องค์ประกอบและกระบวนการพัฒนา
จิตสำานึกสาธารณะผ่านกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสถานที่ 2) เครือข่ายการทำางาน และ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยว และ
4) วิสัยทัศน์ของผู้นำา ประการที่ 3 แนวทางการพัฒนากิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธในการ
เสริมสร้างจิตสำานึกสาธารณะของนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การยกระดับกิจกรรมประเพณีท้องถิ่น
การพัฒนากระบวนการสื่อสารสาธารณะ และการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวระดับชุมชน
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
อำาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชลวิทย์ เจียรจิตต์.(2556). พุทธเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการเริมสร้างสุข
ภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.ณัฐธีร์ ศรีดี และคณะ. (2556). รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคกลาง :
กระบวนการจัดการพุทธศิลป์ถิ่นสยามเพื่อความงามของจิตใจและปัญญา. กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยว
ทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี และคณะ. (2556). รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทาง
พระพุทธศาสนาในภาคเหนือ: กระบวนการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์เชิงประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และคณะ.(2556) . รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธ
ศาสนาในภาคใต้: การสื่อสารคุณค่าและการพัฒนาเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม และคณะ. (2556) .รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธ
ศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:กระบวนการเปลี่ยนแปลง“เส้นทางบุญ”สู่“เส้นทางธรรม”.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.