โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายประเภท Casual Wear จากการย้อมสีธรรมชาติ กรณีศึกษาข้าวเหนียวดำในเขตพื้นที่ภาคอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายประเภท Casual Wear จากการย้อมสีธรรมชาติ กรณีศึกษาข้าวเหนียวดำในเขตพื้นที่ภาคอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติ จากข้าวเหนียวดำในเขตพื้นที่ภาคอีสานโดยใช้เส้นใยธรรมชาตินำไปทอเพื่อออกแบบเป็นสินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายประเภทชุดลำลอง(Casual Wear)ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้รับแรงบันดาลใจจากขั้นตอนการทำนา นำไปสู่การหาเทคนิคด้านการทอที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย Generation Y ผู้หญิงที่ชื่นชอบเสื้อผ้าที่มีความเป็นธรรมชาติ ดูผ่อนคลายแต่ทันสมัย รักสิ่งแวดล้อม
ผลจากการทดลองย้อมสีธรรมชาติจากข้าวเหนียวดำ พบว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้สีติดดีอยู่ 3 ชนิด คือพันธุ์ลืมผัว พันธุ์ปทุม 1 และพันธุ์หอมภูเขียว ส่วนพันธุ์กข.6 และพันธุ์หอมนิล สีมีความติดดีน้อย โดยได้ทำการนำเส้นใยจากธรรมชาติมาทดลองย้อม ทำให้สีติดดีมากยิ่งขึ้นและให้เฉดสีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสารที่ผสมลงไปย้อมสารเหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวจับยึดสี และเพิ่มการติดสีในเส้นใยแล้วยังช่วยเปลี่ยนเฉดสีให้เข้มจาง หรือสดใส สว่างขึ้น เมื่อนำไปออกแบบเครื่องแต่งกายประเภทชุดลำลอง ทำให้มีรูปแบบที่สวมใส่สบาย เนื้อผ้านุ่มระบายอากาศ ตอบสนองความต้องการเข้ากับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้ดี
คำสำคัญ: การย้อมสีธรรมชาติ, ข้าวเหนียวดำ
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม