แนวทางการออกแบบวางผังพื้นที่วัดโคกกู่สัมพันธ์ค่า เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

Main Article Content

ยศวดี จินดามัย
เมทินี โคตรดี

บทคัดย่อ

แนวทางการออกแบบวางผังพื้นที่วัดโคกกู่สัมพันธ์ค่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ ออกแบบวางผังพื้นที่จากองค์ประกอบของนิเวศวัฒนธรรมและข้อจำกัดในพื้นที่ เขตพุทธาวาส สังฆาวาส และพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่โบราณสถาน (“กู่น้อง”ชื่อเรียกขานของคนในชุมชน)และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ของสำนักศิลปากรที่ 9 และเพื่อการส่งเสริมศักยภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้ชุมชนบ้านโคกกู่และพื้นที่ใกล้เคียง วิธีการศึกษาใช้กระบวนการแบบบูรณาการสู่การเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ของนิสิตสาขาภูมิสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 3 โดย การลงสำรวจพื้นที่และการสัมภาษณ์ชุมชน และนำเสนอข้อมูลสู่การพัฒนาพื้นที่ต่อไป


      ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ภายในวัดโคกกู่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือ พื้นที่สังฆาวาส (กุฏิพระ) และพื้นทีพุทธาวาส(พื้นที่ปฏิบัติธรรม โรงฉันท์ และครัว) ส่วนที่ 2 คือ พื้นที่โบราณสถาน และส่วนที่ 3 คือ พื้นที่ป่าชุมชน โดยการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมีการใช้งานร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งเขตการใช้งานเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน อีกทั้งยังพบปัญหาในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุรักษ์ฯทำให้ต้องถูกระงับและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไป ทั้งนี้จึงนำสู่แนวทางการออกแบบวางผัง โดยเน้นการกำหนดเขตพื้นที่สังฆาวาสให้มีความสงบ และการเชื่อมต่อพื้นที่กิจกรรมเพื่อชุมชน และเพื่อการท่องเที่ยวโบราณสถานและป่าชุมชนโดยการแทรกรูปแบบการเรียนรู้พื้นที่ทางวัฒนธรรมให้กลมกลืนกับพื้นที่เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติพรรณไม้พื้นถิ่น และองค์ประกอบของภูมิทัศน์ของโบราณสถานในพื้นที่ เพื่อเป็นผังแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วงศกร จันทวิเศษ. (2561). โอกาสในการเปลี่่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ธรณีสงฆ์วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุุมชนเมือง ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น. (2557). การบุกรุกล้ำก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในเขตโบราณสถาน. ขอนแก่น: สำนักศิลปากรที่ 9.

ศิริชัย หงศ์วิทยากร. (มปป). ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. ภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดลอม คณะผลิตกรรมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิวรณ์ สีหนาท. (2546). การศึกษาแนวทางการพัฒนาอาคารเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มคลอง กรณีศึกษา : คลองอ้อมนนท์และคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปรญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.