โครงการสำรวจความต้องการผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของตลาดงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบในสถานะการณ์ปัจจุบัน

Main Article Content

วิชนาถ ทิวะสิงห์
ศิรินภา วงษ์ชารี

บทคัดย่อ

การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเป็นภารกิจหลักของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผล เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตรในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร โดยศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและความต้องการของตลาดแรงงาน


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 221 คน และนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประกอบการ ในตลาดงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบในสถานะการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2562 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)


ผลจากการวิจัย พบว่าผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 5 ด้าน โดยภาพรวมในระดับมากทั้ง 5 ด้านเรียงตามลำดับ คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่าเฉลี่ย 4.48 2) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ย 4.40 3) ด้านทักษะทางปัญญา ค่าเฉลี่ย 4.36 4) ด้านความรู้ ค่าเฉลี่ย 4.34 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ค่าเฉลี่ย 4.30 ตามลำดับ


ทักษะทางด้านบุคลิกภาพ ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอันดับแรกคือด้านวิชาชีพทักษะทางด้านบุคลิกภาพ ค่าเฉลี่ย 4.52 อันดับ 2 คือมีมนุษยสัมพันธ์เป็นกันเอง ช่วยเหลือและมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงานค่าเฉลี่ย 4.51 อันดับ 3 คือสามารถประยุกต์ทักษะทางด้านวิชาชีพเพื่อใช้รวมกับศาสตร์อื่นได้ เช่น การบริหารจัดการ การตลาดค่าเฉลี่ย 4.40 อันดับ 4 คือมีความสามารถทางด้านวิชาชีพของตน และสามารถนำความรู้ในสาขาวิชาที่เรียน ประยุกต์ใช้และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือหน่วยงาน ค่าเฉลี่ย 4.39 อันดับ 5 คือความ  กระตืนรือร้น หาความรู้ ศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา ค่าเฉลี่ย 4.23 อันดับ 6 คือมีความเชื่อมั่นในตนเอง ค่าเฉลี่ย 3.91 ตามลำดับ


ทักษะทางด้านการสื่อสาร ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอันดับแรกคือทักษะการอ่าน ค่าเฉลี่ย 4.45 อันดับ 2 คือทักษะการเขียน ค่าเฉลี่ย 4.19 อันดับ 3 คือทักษะการฟัง ค่าเฉลี่ย 3.99 และอันดับ 4 คือทักษะการพูด ค่าเฉลี่ย 3.98 ตามลำดับ


ทักษะด้านภาษาและการสื่อสารเพื่อนำเสนอผลงาน ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอันดับแรกคือมีเทคนิคการนำเสนอ เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ค่าเฉลี่ย 4.33 อันดับ 2 คือมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ค่าเฉลี่ย 4.32 อันดับ 3 คือมีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ค่าเฉลี่ย 4.21 อันดับ 4  คือมีการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อการนำเสนอหรือพรีเซ็นผลงานได้ดี ค่าเฉลี่ย 3.88 และอันดับ 5 คือทักษะด้านภาษาอังกฤษ ค่าเฉลี่ย 3.61 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและการวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

สมชาติ กิจยรรยง. (2548). พัฒนาคน พัฒนางาน การบริหารงานบุคคลสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 : Thai qualifications framework for higher education (TQF:HEd). กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

หฤทัย อาษากิจ และเปรมศักดิ์ อาษากิจ. (2553). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต และศึกษาความสอดคล้องของคุณลักษณะของบัณฑิตกับความต้องการของนายจ้างผู้ใช้บัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รุ่นปีการศึกษา 2551. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ธนาวุุฒิ ไชยพงษ์. (2020). 7 เทรนด์อาชีพแห่งอนาคต. [Online]. ได้จาก: www. wealthmeup.com/20-04-04-futurecareer/ [สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2020].

Lindlof, T. R., & Taylor, B. C. (2002). Qualitative Communication Research Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.

Lindlof, T. R., & Taylor, B. C. (2002). Qualitative Communication Research Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.