การวินิจฉัยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

Main Article Content

ศิริดา บุรชาติ
ศรุดา เห็นสว่าง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2563 และเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2563 วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พบว่าในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวชี้วัดที่ต้องได้รับการพัฒนามีจำนวน 11 ตัวชี้วัด โดยเฉพาะสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย เป็นสาระที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด การวินิจฉัยข้อสอบ O-NET จากบัตรข้อสอบ พบว่านักเรียนมีจุดบกพร่อง ทั้งหมด 4 ด้าน คือ ข้อบกพร่องด้านความรู้ ด้านทักษะในการเรียนรู้ ด้านการอ่านตีความ และข้อบกพร่องด้านอื่น ๆ ตามลำดับ ส่วนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีตัวชี้วัดที่ต้องได้รับการพัฒนา 13 ตัวชี้วัด โดยเฉพาะสาระที่ 2 การเขียน เป็นสาระที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด การวินิจฉัยข้อสอบ O-NET จากบัตรข้อสอบ พบว่านักเรียนมีจุดบกพร่อง ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านทักษะในการเรียนรู้ ด้านความรู้ และข้อบกพร่องด้านอื่น ๆ ตามลำดับ


แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาวิชาภาษาไทยจะต้องจัดให้หลากหลายและสอดคล้องกับหลักสูตรหรือบทเรียนนั้น ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถบรรลุจุดประสงค์ในด้านทักษะทางภาษา ดังต่อไปนี้ วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง เกม หรือการจัดกิจกรรม/รูปแบบการสอนที่หลากหลายเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในการเรียนของนักเรียน การจัดการเรียนรู้แบบการระดมความคิดและแบบใช้คำถามเป็นการมุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผลวิเคราะห์ หรือรูปแบบการสอนตรงโดยการบรรยายทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดและให้นักเรียนได้ฝึกฝนจากตัวอย่าง ประกอบกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยเชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2527). การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

กระทรวงการศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2561). เทคนิคการสอนภาษาไทย. https://www.thai.sesa35.info/index.php?module=news&id=82

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน; องค์ความรู้เพื่อการจัดการะบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรา ชุณสนิท. (2559). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(1), 88-97.

ราตรี เพรียวพานิช. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริเดช สุชีวะ. (2550). การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียน. ในหนังสือชุดปฏิรูปการศึกษา“การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่” บรรณาธิการโดย สุวิมล ว่องวาณิช. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด อุทรานันท์. (2525). กิจกรรมในกระบวนการเรียนการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สังวรณ์ งัดกระโทก, กาญจนา วัธนสุนทร, นลินี ณ นคร, ศศิธร ชุตินันทกุล, ปรารถนา พลอภิชาติ, อนุสรณ์ เกิดศรี, ณภัทร ชัยมงคล, ปิยนาฏ สิทธิฤทธิ์ และ นพรัตน์ ใบยา. (2559). การวินิจฉัยผลการทดสอบระดับชาติและข้อเสนอเชิงนโยบายในการใช้ผลการทดสอบระดับชาติเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (2565). รูปแบบการสอนภาษาไทย (Thai Language Teaching Model). https://sites.google. com/a/esdc.go.th/xb-rm-xxnlin-sphp-phechrburn-khet-3/hlaksutr-sahrab-khru-phu-sxn /thekhnikh-kar-sxn-phasa-thiy

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. https://dictionary.orst.go.th/