จริยธรรมการตีพิมพ์
บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 คน ในรูปแบบที่ผู้ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความและผู้นิพนธ์ไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-Blind Peer Review) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ผู้นิพนธ์
ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า 1) ผลงานที่ส่งมานั้น เป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น 2) ผลงานที่ส่งมานั้นมิได้คัดลอกผลงาน ความคิดเห็นของผู้อื่นมาเป็นของตน เมื่อเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ในงานของตนผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลและสามารถตรวจสอบได้ 3) รายงานผลต้องไม่ได้มีการปรุงแต่ง บิดเบือน แก้ไข ดัดแปลงข้อมูลไปจากความเป็นจริงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง 4) ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องมีส่วนร่วมในการวิจัยทางหนึ่งทางใดอย่างแท้จริง 5) กรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้นิพนธ์ควรระบุผลประโยชน์ทับซ้อน 6) กรณีเป็นผลงานวิจัย ผู้นิพนธ์ควรระบุเลขที่ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
จริยธรรมของบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ
การรักษาความลับ (Confidentiality): การประเมินงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิใช้วิธีอำพรางสองฝ่าย (double-blinded) ในการประเมินงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (peer review) โดยผู้นิพนธ์และผู้ประเมินต้องไม่ทราบตัวตนของอีกฝ่าย และทางบรรณาธิการพยายามอย่างเต็มความสามารถในการปกปิดตัวตนของผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน ข้อคิดเห็นจากการประเมินบทความวิจัยหรือบทความวิชาการเก็บเป็นความลับ ไม่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลทั้งจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ และบรรณาธิการจะไม่นำผลงานนั้นมาใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงก่อนได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ได้รับการตีพิมพ์ เว้นแต่ว่ามีหลักฐานการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้นิพนธ์
ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of interest): บรรณาธิการและ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผลงานของผู้นิพนธ์ที่กำลังประเมินอยู่ ผลประโยชน์ทับซ้อนอาจรวมถึงการแข่งขัน การมีส่วนร่วม ผลประโยชน์ทางการเงิน การมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลใด ๆ ที่อาจส่งผลให้ไม่สามารถประเมินบทความได้อย่างเที่ยงตรง บุคคลเหล่านั้นจำเป็นต้องแจ้งบรรณาธิการเพื่อทำการตรวจสอบผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ หรือบุคคลเหล่านั้นจำเป็นต้องถอนตัวจากกระบวนการและให้ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นพิจารณาบทความแทน อย่างไรก็ตามบรรณาธิการต้องมีตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อนของตนเองและของผู้ประเมินก่อนเริ่มกระบวนการประเมิน
ความเที่ยงตรง (Objectivity): ในการพิจารณาบทความหรืองานวิจัยจะได้รับการประเมินอย่างเที่ยงตรงตามต้นฉบับบทความหรืองานวิจัย โดยปราศจากความรู้สึกและอคติส่วนตัวส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง เงื่อนไขหลักในการประเมินคุณภาพความสำคัญของงานวิจัยต่อองค์ความรู้สาขานั้นๆ คุณภาพของการนิพนธ์ และคุณภาพของข้อมูลและการวิเคราะห์ และการชี้แจง หรือโต้แย้งด้วยเหตุผลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ข้อคิดเห็นจากผู้ประเมินโดยไม่มีข้อสนับสนุนไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยในการตัดสินบทความหรืองานวิจัย
การกล่าวอ้างอิง (Acknowledgement of sources): ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความควรระบุงานวิจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับบทความหรืองานวิจัยนั้น ๆ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์มาก่อนหน้านี้ แต่ผู้นิพนธ์ยังไม่ได้อ้างอิงถึง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความควรแจ้งบรรณาธิการหากพบว่าบทความหรืองานวิจัยที่ได้รับมอบหมายมีความคล้ายคลึงหรือทับซ้อนกับงานวิจัยหรือบทความอื่น ๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว