ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
-
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
-
มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
-
บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
การเตรียมต้นฉบับ Download :
Template บทความวิจัย
Template บทความวิชาการ
แบบฟอร์มการสมัครตีพิมพ์บทความ
ภาษา
สามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโดยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในผลงานวิชาการนั้น ๆ
หัวข้อในการเขียนบทความ
1. บทความวิจัย ควรมีหัวข้อดังนี้
- ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อ-สกุล/สถานภาพผู้เขียน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทนำ
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- วิธีดำเนินการวิจัย
- ผลการวิจัย
- อภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง
(อ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตามรูปแบบ APA 7th Edition)
2. บทความวิชาการ ควรมีหัวข้อดังนี้
- ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อ-สกุล/สถานภาพผู้เขียน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทนำ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- เนื้อหา/ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ
- สรุป
- การวิเคราะห์/วิจารณ์
- เอกสารอ้างอิง
(อ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตามรูปแบบ APA 7th Edition)
หลักเกณ์การเตรียมต้นฉบับ
- พิมพ์ผลงานทางวิชาการจะต้องจัดพิมพ์ด้วย Microsoft word for Windows บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ๆ ละ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) และจัดรูปแบบเป็นหนึ่งคอลัมน์เท่านั้น ใช้อักษร TH SarabunPSK ตัวเลขไทย (ยกเว้นบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และหนังสืออ้างอิงฉบับภาษาอังกฤษ) ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16-16-16-12 (ชื่อบทความ-ชื่อผู้แต่ง-เนื้อหา-เลขเชิงอรรถ) และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก จำนวนไม่เกิน 8-15 หน้าตาม Template ของวารสาร รวมเอกสารอ้างอิง
- บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ มีความยาวประมาณ 200 คำ หรือบทศัดย่อภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 12 บรรทัด จะต้องพิมพ์คำสำคัญทั้งในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ในบทศัดย่อภาษาอังกฤษของบทความเรื่องนั้นด้วย จำนวนไม่เกิน 5 คำ
- เนื้อหา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้พิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
- ถ้ามีรูปภาพตารางประกอบ ควรมีภาพที่ชัดเจน ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รูปภาพต้องมีความคมชัดสามารถอ่านได้ง่าย โดยกำหนดให้ไฟล์รูปภาพ แผนภูมิ ตาราง ต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 DPI ตาราง และ ภาพ ใช้คำว่า ตารางที่ 1 และ ภาพที่ 1
- บรรณานุกรมแยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร)
- ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- การส่งต้นฉบับ จะต้องส่งเอกสาร 2 ไฟล์ คือ 1) บทความตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด ชนิดไฟล์เวิร์ด จำนวน 1 ไฟล์ 2) แบบฟอร์มการสมัครตีพิมพ์บทความ ชนิดไฟล์เวิร์ด จำนวน 1 ไฟล์ แนบเข้ามาในระบบตามขั้นตอน พร้อมระบุข้อความถึงบรรณาธิการให้ชัดเจน
- บรรณาธิการพิจารณาบทความเบื้องต้น และส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขในระบบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ
- ผู้แต่งที่แก้ไขบทความตามผู้ประเมินเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการส่งบทความฉบับแก้ไขของตนไปเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนโดยส่งเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้กองบรรณาธิการดำเนินต่อไป
- รูปแบบการเขียนอ้างอิงมีรายการอ้างอิงครบถ้วน สมบูรณ์ ตามหลักการเขียนการอ้างอิงเอกสารแบบ APA 7th Edition
ประเภทบทความ
- บทความวิจัย (Research article) งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยบทนำ ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ วิจัยระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีกรอบแนวคิด การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผล (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้) ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการทางการวัดและปะรเมินผล
- บทความวิชาการ (Academic Article) งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มุ่งเสนอองค์รู้ใหม่ กล่าวถึง ความรู้ แนวทางปฏิบัติ เทคนิคการวัดและประเมิน เทคนิคการวิเคราะห์ แนวทางแก้ไข การประยุกต์องค์ความรู้ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะของตนบนหลักวิชการ มีการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน และเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน
- บทความปริทัศน์หรือบทความวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) งานเขียนที่ผู้เขียนวิจารณ์แนวคิด องค์ความรู้จากการทบทนวรรณกรรมหรือผลการวิจัยในอดีต โดยนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบมุมมอง ความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการทางการวัดและประเมินผล เพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มในการแสวงหาองค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆ ทางวิชาการ
- ปกิณกะ (Miscellany) เป็นบทความทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ซักถามปัญหา การอภิปราย ถาม-ตอบ จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to editor) เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติจริงสู่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาในระดับชาติ แนะแนวการนำนโยบายไปปฎิบัติ
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารก่อนเท่านั้น