https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/issue/feed
วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ
2024-12-24T00:00:00+07:00
Kumphakan Sawaddikomon
journal.niets@gmail.com
Open Journal Systems
<p><br />วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ</p> <p>ISSN: 2730-3535 E-ISSN: 3027-8333</p> <p>เป็นวารสารของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด ผลงานวิจัยและบทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการทดสอบ นโยบายการศึกษา การบริการจัดการทดสอบ การวัดผลและการประเมินผลทางการศึกษา นวัตกรรมเกี่ยวกับระบบการทดสอบ เทคนิคด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา บทความที่เป็นศาสตร์ทางการศึกษาในแขนงที่เกี่ยวข้อง อันจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ในด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา เพื่อประโยชน์และการนำไปใช้ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการศึกษา นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป</p> <p>ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2567) : กรกฎาคม - ธันวาคม 2567</p> <p>Published: 2024-12-24</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/269744
การสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์วัดทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และจำแนกกลุ่มระดับความสามารถโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ
2024-04-25T14:01:57+07:00
อัครพล พรมตรุษ
promtrud.research@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบแบบทดสอบอิงเกณฑ์วัดทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ตรวจสอบคุณภาพ และ 3) วิเคราะห์จำแนกกลุ่มระดับความสามารถโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ การสร้างแบบวัดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้บริบทของโรงเรียนสรรค์อนันต์วิทยา 2 กลุ่มตัวอย่างในการทดสอบ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 - 2566 รวม 30 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลโดยเลือกนักเรียนทั้งชั้นเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างแบบทดสอบแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ความคิดรวบยอดด้านการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ตอนที่ 2 วัดทักษะการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบเติมคำ จำนวน 12 ข้อ และตอนที่ 3 วัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า แบบทดสอบทั้งฉบับมีคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ได้ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ 0.86 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด เท่ากับ 0.23 และ 3) วิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ จำแนกนักเรียนเป็นกลุ่มดีเยี่ยมคิดเป็นร้อยละ 20 กลุ่มดีคิดเป็นร้อยละ 43.33 และกลุ่มอ่อนคิดเป็นร้อยละ 36.67</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/271805
การประเมินผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สพฐ.
2024-08-19T08:50:20+07:00
ธนวัฒน์ เศรษฐธีรโชติ
thanawat@niets.or.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2566 จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของโรงเรียน 2) ศึกษาคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2566 จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของโรงเรียน สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนที่เข้ารับการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2566 จำนวน 282,249 คน จากผลการวิเคราะห์พบว่า 1) นักเรียนที่มีระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงและควรปรับอย่างยิ่ง”จำนวน 35,220 คน คิดเป็น 12.48% และจำนวนนักเรียนที่มีระดับคุณภาพ “ดีมากถึงดีเยี่ยม” มีจำนวน 7,164 คน คิดเป็น 2.54% จำแนกตามโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีจำนวนนักเรียนได้คะแนนระดับดีเยี่ยมมากที่สุด 2,036 คน คิดเป็น 0.72% และโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนได้คะแนนระดับดีเยี่ยม 7 คน คิดเป็น 0.00% ในขณะที่โรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงถึงควรปรับปรุงอย่างยิ่ง” มีจำนวน 27,812 คน คิดเป็น 9.85% และระดับคุณภาพ “ดีถึงดีเยี่ยม” จำนวน 4,677 คน คิดเป็น 1.65% สำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองมีระดับคุณภาพ “ดีถึงดีเยี่ยม” จำนวน 9,438 คน คิดเป็น 3.34% และระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงถึงควรปรับปรุงอย่างยิ่ง” มีจำนวน 7,408 คน คิดเป็น 2.62% โดยนักเรียนส่วนมากจะอยู่ในระดับคุณภาพ “พอใช้ถึงค่อนข้างดี” ทั้งในเมืองและนอกเมือง 2) โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนเฉลี่ยตามสาระการเรียนรู้ที่ 1, 2 และ 3 สูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่นอกเมือง ในขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองและนอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ทั้ง 3 สาระการเรียนรู้ หากพิจารณาตามมาตรฐานการเรียนรู้ ค 1.1 ค 1.3 ค 2.2 และ ค 3.1 ของโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนสูงกว่านอกเมือง ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองและนอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกัน หากพิจารณาโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนรายตัวชี้วัดที่มากกว่า 50% จำนวน 2 ตัวชี้วัด และโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยรายตัวชี้วัดที่มากกว่า 50% เพียง 1 ตัวชี้วัด และคะแนนเฉลี่ยรายตัวชี้วัดจำแนกตามขนาดโรงเรียนยังไม่มีคะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัดใดที่มีค่าเกิน 50%<br /><br /><br /></p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/273570
การศึกษาอัตชีวประวัติในฐานะเครื่องมือประเมินตนเองเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของนักการศึกษาปฐมวัย
2024-10-22T09:32:52+07:00
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
sasilak.k@chula.ac.th
สิริธิดา ชินแสงทิพย์
zsyingying@gmail.com
ณฐิณี เจียรกุล
Nathinee.J@chula.ac.th
<p>การประเมินตนเองเป็นกระบวนการใคร่ครวญต่อร่องรอยหลักฐานที่สะท้อนการเรียนรู้ในฐานะนักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย โดยอาศัยอัตชีวประวัติเป็นเครื่องมือสืบค้นการเติบโตทางวิชาชีพของผู้วิจัย การตั้งคำถามในชีวิตกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พัฒนาเป็นหมุดหมายสำคัญที่เป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทางเพื่อตอบคำถามหลักที่ว่า “ฉันจะพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพได้อย่างไร” วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสืบค้นและทำความเข้าใจเส้นทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้วิจัยในฐานะนักการศึกษาปฐมวัย ผู้วิจัยใช้การสืบค้นตนเองผ่านเรื่องเล่าตามกรอบการพัฒนามนุษย์ 7 ระยะ ร่วมกับเครื่องมือทำความเข้าใจตนเอง ได้แก่ อุปนิสัยของมนุษย์ นพลักษณ์ และบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ ใช้เวลา 1 เดือน ในการสืบค้นเพื่อตอบคำถามวิจัย โดยย้อนระลึกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงชีวิต ได้แก่ 0-7 ปี 7-14 ปี 14-21 ปี 21-28 ปี และ 28-35 ปี รวม 5 ระยะ ร่วมกับการบันทึกประสบการณ์และการทำงานศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลโดยการอ่านซ้ำข้อมูล และสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสะท้อนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมิติด้านในของผู้วิจัยทั้งด้านองค์ความรู้ เจตคติ และทักษะวิชาชีพครูปฐมวัย ตามขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 5 กระบวนการ ได้แก่ การมีใจจดจ่อ ความสามารถในการเข้าใจ การเห็นคุณค่าและความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงตัวตน และการเปลี่ยนแปลงผู้อื่น ครูปฐมวัยควรได้รับการสนับสนุนให้สะท้อนคิดและประเมินตนเองเป็นระยะในฐานะเครื่องมือพัฒนาทางวิชาชีพ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/269895
การประเมินผลการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้วิธีเรียนด้วยรายการตรวจสอบความเชี่ยวชาญหลายงาน: มโนทัศน์สำคัญและการประยุกต์ใช้
2024-09-02T16:30:11+07:00
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ
puangpaka_paw@dusit.ac.th
<p>รายการตรวจสอบความเชี่ยวชาญหลายงาน เป็นเทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้วิธีเรียนตามอนุกรมวิธานการเรียนรู้ที่สำคัญของ Fink (2003) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะให้การศึกษาแก่ตนเอง บทความวิชาการฉบับนี้จึงมุ่งนำเสนอมโนทัศน์สำคัญและการประยุกต์ใช้รายการตรวจสอบความเชี่ยวชาญหลายงาน ในบริบทของการจัดการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูระดับประถมศึกษา โดยอ้างอิงจากประสบการณ์การนำไปใช้ของผู้เขียนผนวกกับกระบวนการสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ (qualitative synthesis) ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจและท้าทายสำหรับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในอนาคต</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/272151
โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้คืออะไร: ความหมาย ตัวบ่งชี้ และแนวปฏิบัติ
2024-09-02T15:30:06+07:00
Eisuke Saito
eisuke.saito@monash.edu
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
siripaarn.s@gmail.com
อรรถพล อนันตวรสกุล
anun.atha@gmail.com
วรเชษฐ แซ่เจีย
v.saejea@gmail.com
<p>นับตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้รู้จักกับแนวคิดการปฏิรูปโรงเรียนตามแนวทางโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) และมีการพัฒนาเป็นโรงเรียนนำร่องทั่วประเทศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้นำแนวคิด SLC เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการศึกษา อย่างไรก็ตาม เมื่อมีแนวทางการปรับเปลี่ยนการทำงานมากกว่าหนึ่งรูปแบบอาจทำให้ครูสับสนได้ หากหน่วยงานของกรุงเทพมหานครได้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของ SLC อาจทำให้ศึกษานิเทศก์ไม่เข้าใจในแนวคิดและไม่สามารถปฏิบัติของ SLC ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจคุณลักษณะเฉพาะของแนวคิด SLC โดยเปรียบเทียบกับแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Schools That Learn) และการศึกษาและพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และ (2) พัฒนาตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยทำความเข้าใจการเติบโตของโรงเรียนโดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียนคนแรก ผู้ทำงานกับแนวคิด SLC มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ในหลายประเทศ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/269909
บทวิจารณ์หนังสือ: “รู้ เข้าใจ ใช้แบบทดสอบ”
2024-07-18T16:01:31+07:00
ณัฐกรณ์ สร้อยสนธิ์
natthakorn.t.s@gmail.com
<p>หนังสือเล่มนี้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการใช้แบบทดสอบสำหรับสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยผู้แต่งเรียบเรียงเนื้อหาจากการสั่งสมประสบการณ์มากกว่าสิบปีในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการทดสอบทางจิตวิทยาและรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับอุดมศึกษา หนังสือแบ่งออกเป็น 11 บท เนื้อหาของหนังสือแต่ละบทจบลงในตัวเอง การเรียงลำดับเนื้อหาเริ่มต้นกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของหลักการเลือกใช้แบบทดสอบ สถิติพื้นฐาน คุณลักษณะของแบบทดสอบ การเลือกแบบทดสอบ การบริหารการทดสอบ การให้คะแนนและการแปลผล ตลอดจนเนื้อหาเกี่ยวกับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา แบบทดสอบความถนัด แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ แบบสำรวจความสนใจ ค่านิยม และอาชีพ แบบประเมินบุคลิกภาพ ผู้แต่งแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้แบบทดสอบจำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถเกี่ยวกับสถิติที่เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยให้ผู้สร้างแบบทดสอบเก็บรวบรวมข้อมูล จัดรูปแบบข้อมูล นำเสนอวิเคราะห์และตีความหมายของผลการทดสอบ ทั้งนี้ ผู้ใช้แบบทดสอบต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของแบบทดสอบ เพื่อสามารถตัดสินใจเลือกแบบทดสอบที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สามารถบริหารการทดสอบที่มีผลต่อความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของผลการทดสอบ ส่วนท้ายของทุกบทมีคำถามเพื่อการอภิปรายและกิจกรรมเสนอแนะ หนังสือช่วยปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านและเป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจเรื่องแบบทดสอบ แบบสำรวจ แบบประเมิน สามารถใช้เป็นตำราประกอบการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการทดสอบทางจิตวิทยา การประยุกต์กับกิจกรรมการประเมิน จำแนก คัดสรร และพัฒนาบุคคล ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้แบบทดสอบได้สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการทดสอบ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)