วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS <p><strong>วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ (Journal of National Educational Testing and Assessment)</strong> เป็นวารสารวิชาการที่เผยแพร่ผลงานของนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากร รวมทั้งนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งผลงานวิจัย บทความวิชาการ นวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ การวัดผล และการประเมินผลทางการศึกษาในระดับชาติ</p> <p>จัดทำโดย<strong>สถาบันสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Educational Testing Service)</strong> ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน จัดทำวารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ ตามพัธกิจของสถาบันสถาบันฯ ที่ว่าเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ</p> <p>โดยวารสารฯ มีคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหารทางการศึกษา ครู นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทางด้านการวัดและประเมินผล การจัดการทดสอบ หรือนักวิชาการด้านการวัดจากศาสตร์อื่น ๆ ทั้งจากนักวิชาการภายในและภายนอกสถาบันฯ ร่วมกันผลิตผลงานวิชาการ โดยจัดพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ ฉบับละ 2 เรื่อง เพื่อให้เป็นแหล่งแหล่งอ้างอิงที่ทางวิชาการในการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในการนำองค์ความรู้ไปประยุกย์ใช้ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดเกิดประโยชน์ต่อสังคมในทุกช่วงวัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา</p> th-TH <p>under process</p> journal.niets@gmail.com (Kumphakan Sawaddikomon) sansern@niets.or.th (Sansern Takeaw) Wed, 26 Jun 2024 20:06:10 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของการใช้โปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ต่อการพัฒนาทักษะการเขียนในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/268190 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชุดโปรแกรมการฝึกการเขียนด้วยเทคโนโลยีภาพ เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทางสายตาในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 25 คน อายุระหว่าง 7 ปี ถึง 10 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มแบบจับฉลาก คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 13 คนได้รับโปรแกรมการฝึกเขียนด้วยเกมที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน ได้รับโปรแกรมการฝึกกิจกรรมบำบัดด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทางคลินิกโดยนักกิจกรรมบำบัด ทำการทดลองจำนวน 20 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ได้แก่ 1. แบบประเมินการรับรู้ทางสายตา (DTVP-3) ประเมินก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง 2. แบบประเมินความสามารถด้านการเขียนด้วยแบบประเมินความสามารถทักษะด้านการบูรณาการการมองเห็นและการเคลื่อนไหว (VMI) 3. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (WRAT-Thai) ประเมินก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีการรับรู้ทางสายตา หลังให้ชุดโปรแกรมการฝึกการรับรู้ทางสายตาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสามารถทักษะด้านการบูรณาการการมองเห็นและการเคลื่อนไหวและความสามารถด้านการเขียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังให้โปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กมีการเขียนที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน สามารถนำไปฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กได้</p> Natbordin Prasomsri, ปารณีย์ วิสุทธิพันธ์ Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/268190 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย รูปแบบอัตนัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดราชบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/267437 <p>ข้อสอบอัตนัยเป็นเครื่องมือในการประเมินที่สะท้อนถึงความสามารถในการใช้ภาษาการเขียนและการสื่อสารอย่างเป็นทางการของผู้เรียน โดยการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการสอบ O-NET วิชาภาษาไทยในข้อสอบอัตนัยทั้งคะแนนรวมและรายข้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดราชบุรี และเปรียบเทียบผลการสอบข้อสอบอัตนัยเมื่อปีการศึกษาและสังกัดของโรงเรียนต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบผลของการสอบในปีการศึกษาที่มีข้อสอบอัตนัยกับปีการศึกษาที่ไม่มีข้อสอบอัตนัย โดยประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดราชบุรี ที่เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระหว่างปีการศึกษา 2563 ถึง 2565 ในวิชาภาษาไทย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test และ ANOVA เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนน ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยจากการสอบวิชาภาษาไทย โดยข้อสอบอัตนัยในภาพรวมของนักเรียนในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในบางรายข้อคำถามนักเรียนในปีการศึกษา 2565 กลับมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 2) ผลคะแนนเฉลี่ยจากการสอบข้อสอบอัตนัยยังแปรปรวนไปตามปีการศึกษากับสังกัดโรงเรียน โดยนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3) ผลคะแนนเฉลี่ย O-NET วิชาภาษาไทยที่ไม่มีข้อสอบอัตนัย (ปีการศึกษา 2563) ไม่แตกต่างกับปีที่มีข้อสอบอัตนัยในปีการศึกษา 2564 แต่กลับพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับปีการศึกษา 2565 จากผลการศึกษาควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความเชื่อมโยงกับการอ่านออกเขียนได้</p> ภาณุพงศ์ แก้วด้วง, ศิริดา บุรชาติ Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/267437 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 The Pedagogical Impact of ChatGPT on High-school Student’s Creative Writing Skills: An Exploration of Generative AI Assisted Writing Tools https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/267771 <p>This quasi-experimental research delved into the transformative potential of Generative AI-assisted writing tools, exemplified by ChatGPT, in enhancing the creative writing skills of eleventh-grade students within the Thai educational context. The study encompassed two primary objectives: 1) to assess the impact of Generative AI tools on students' creative writing skills before and after exposure during writing lessons; and 2) to compare the creative writing skills of students using Generative AI tools with those engaged in conventional teaching approaches. The research adopted a multi-stage sampling method, selecting 84 eleventh-grade students from a Thai secondary school, who were then divided into experimental (Generative AI-assisted) and controlled (conventional teaching) groups. The intervention involved the implementation of Generative AI Integrated Lesson Plans, integrating ChatGPT into the Communicative Language Teaching (CLT) approach. A parallel traditional teaching approach served as the controlled group. Creative writing skills were assessed through a 5-point scoring rubric before and after the intervention, covering aspects such as creativity, development, voice, literary devices, and literary conventions. The study employed statistical analyses, including paired sample t-tests and independent-samples t-tests, to scrutinize the research hypotheses. Preliminary findings indicated a statistically significant enhancement in the creative writing skills of students exposed to Generative AI tools, supporting the efficacy of this technological intervention.</p> สหรัฐ ลักษณะสุต Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/267771 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการวัดและประเมินความฉลาดรู้ด้านสถิติในระดับชั้นมัธยมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/269759 <p>ความฉลาดรู้ด้านสถิติเป็นทักษะสำคัญสำหรับพลเมืองในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลข่าวสาร เป้าหมายปลายทางคือการรู้เท่าทันข้อสรุปทางสถิติที่พบในบริบทส่วนตัวและส่วนรวม เนื่องด้วยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ความรู้ทางสถิติ บริบท และคณิตศาสตร์ ทำให้การวัดและประเมินความฉลาดรู้ด้านสถิติมีแนวคิดต่างออกไปจากการตรวจสอบเพียงว่าถูกหรือผิด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดสำหรับการวัดและการประเมินความฉลาดรู้ด้านสถิติ สาระสำคัญของบทความประกอบด้วย 1) ความฉลาดรู้ด้านสถิติเป็นความสามารถในการตีความ การประเมินข้อสรุปทางสถิติอย่างมีวิจารณญาณ และการอภิปรายหรือสื่อสารความคิดเห็นของตนเองเพื่อโต้แย้งหรือสนับสนุนข้อสรุปทางสถิติ และนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม 2) การวัดและประเมินความฉลาดรู้ด้านสถิติสำหรับนักเรียน พิจารณาจากความสามารถที่เป็นโครงสร้าง 3 ลำดับชั้น ได้แก่ ความเข้าใจคำศัพท์พื้นฐานทางสถิติ ความเข้าใจคำศัพท์ทางสถิติเมื่อปรากฏในบริบท และความสามารถในการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยบนแนวคิดที่ซับซ้อนหรือปราศจากการให้เหตุผลทางสถิติเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจหรือโต้แย้งข้อสรุป นิยมจำแนกระดับความฉลาดรู้ด้านสถิติเป็น 6 ระดับ จากระดับล่างสุดไปสู่ระดับสูงสุด ได้แก่ ระดับขีดจำกัด ระดับไม่เป็นทางการ ระดับไม่สอดคล้องกัน ระดับสอดคล้องแต่ปราศจากวิจารณญาณ ระดับมีวิจารณญาณ และระดับมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และ 3) การใช้ข้อสอบจำแนกระดับความฉลาดรู้ด้านสถิติทั้ง 6 ระดับ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 28 คน รวม 63 คน พบว่าสามารถเลือกใช้ข้อสอบที่สอดคล้องกับลักษณะข้อสอบที่ใช้ส่งเสริมในระดับมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ จากนั้นสร้างเกณฑ์การพิจารณาโดยอาศัยพฤติกรรมบ่งชี้ของความฉลาดรู้ด้านสถิติแต่ละระดับ</p> เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล, ทรงชัย อักษรคิด, ชานนท์ จันทรา Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/269759 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับระบบสารสนเทศใหม่ ยุคการศึกษาฐานสมรรถนะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/266691 <p>ระบบสารสนเทศใหม่ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ.<br />ยุคการศึกษาฐานสมรรถนะ เป็นผลมาจากการประเมินความสำเร็จของการดำเนินพันธกิจของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติในช่วง 18 ปีแรกของการก่อตั้งองค์กร ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปว่า 2 ปัจจัยความสำเร็จคือ ความเป็นผู้นำด้านการทดสอบทางการศึกษา และความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือการบริหารการจัดสอบแบบออนไลน์ ครบวงจร แบบบริการตนเอง ส่งผลให้ สทศ. มีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศมาโดยตลอด ตามมาตรฐานการตรวจสอบของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ปัจจุบันจะมีการเริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักการ ความมุ่งหมาย <br />และผลลัพธ์การเรียนรู้ใหม่ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิทยาการและเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อตลาดงาน วิถีชีวิตและสังคม และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปของชาติและของกระทรวงศึกษาธิการ จากการประเมินนำไปสู่ข้อสรุปสำคัญว่า สทศ. ต้องปรับระบบการทดสอบใหม่ ภายใต้ความไม่แน่นอนทางความคิดแนวปฏิบัติและระบบธรรมาภิบาลที่กำกับการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานของผู้เกี่ยวข้อง ทำให้สภาวะความไม่แน่นอนดังกล่าว เป็นเหตุปัจจัยให้ สทศ. ต้องปรับระบบสารสนเทศใหม่ รวมถึงการพัฒนาองค์กร ขีดความสามารถ และระบบธรรมาภิบาลใหม่ให้เป็นองค์กรที่สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมการทำงานได้เร็ว ต่อเนื่อง และได้ผล</p> นิตยา ก้านบัว Copyright (c) 2024 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JOURNALNIETS/article/view/266691 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700