การจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์กลุ่ม

Main Article Content

ศิริดา บุรชาติ
สรรเสริญ ตาแก้ว
ศิริพร ทองแก้ว

บทคัดย่อ

การจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยคะแนนรายวิชาจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนที่เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5,311 โรง เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์จัดกลุ่ม แบบไม่เป็นขั้นตอน (Non-hierarchical Cluster Analysis) จำแนกเป็น 4 รายวิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า โรงเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคกลางและกรุงเทพมหานครที่เข้ารับการทดสอบจำนวน 5,311 โรง ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยรายวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 ซึ่งพบว่าเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่นอกเมือง โดยมีค่าเฉลี่ยของกลุ่ม
ในวิชาภาษาอังกฤษอยู่ที่ 36.92 ค่าเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์อยู่ที่ 23.69 ส่วนรายวิชาวิทยาศาสตร์จัดอยู่ใน กลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 38.38 และรายวิชาภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 54.40 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนหรือตัดสินใจดำเนินการหาแนวทางเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้มีความเหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). สถิติสำหรับงานวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนติ เฉลยวาเรศ. บุณยานุช เฉวียงหงส์ และ ปกเกศ ชนะโยธา (2559). การจัดการข้อมูลการวัดและประเมินผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ข้อมูลปี 2553 และ 2556 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรีและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities. 6(10), 1-14

ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2563). การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์. 48(1), 63-82.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). มาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด. นนทบุรี.

เอื้อมพร หลินเจริญ สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ ภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).