โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สอง: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • กัญญา จำปาพันธ์ โรงรียนอนุราชประสิทธิ์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

คำสำคัญ:

โรงเรียนต้นแบบ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ภาษาต่างประเทศที่สอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอแนวคิด ประสบการณ์ และผลลัพธ์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนการสอนเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สองสู่โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สอง กรณีศึกษาโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จังหวัดนนทบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยกระบวนการบริหารจัดการเรียนการสอนเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สอง กรณีศึกษาโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 2 กำหนดโครงสร้างหลักสูตร ขั้นที่ 3 วางแผนหรือประชุมชี้แจง ขั้นที่ 4 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน ขั้นที่ 6 รายงานผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา และขั้นที่ 8 ถอดบทเรียนหรือเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยขั้นตอนการบริหารจัดการเรียนการสอนเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สองข้างต้น เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ ตัวอย่างผลลัพธ์ของกระบวนการบริหารจัดการข้างต้น เช่น สถานศึกษาได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สอง ประจำปี 2566 มอบโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นต้น ดังนั้น โรงรียนอนุราชประสิทธิ์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จึงเป็นโรงเรียนต้นแบบในการบริหารจัดการเรียนการสอนเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สองแก่ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาในโลกยุคใหม่ (Modern World)

References

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39-46

นันทิพร ฉัตรแก้ว, นิรุตติ์ วงคำชัย, ปัทมา เขาจารี, ศรายุทธ เมืองคำ, สุวิมล ห้วงเกษม, และธีรังกูร วรบำรุงกุล. (2562). ยุทธศาสตร์โรงเรียนประชารัฐกับการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(2), 257-275.

บดินทร์ นารถโคษา. (2565). การบริหารจัดการโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38), 316-326.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วิจารณ์ พานิช. (2566). การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่่ยั่งยืน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(2), 1-12.

วิรัตน์ เกตุเรือง, สุกัญญา แช่มช้อย, และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 313-328.

ศฬิษา วิทยาศรัย และสมบูรณ์ พจน์ประสาท. (2562). การเปรียบเทียบความคิดเห็นและผลสัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาและอาจารย์ชาวไทย. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(6), 103-121.

ศูนย์สารนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การจัดกิจกรรมวิชาการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่สองของ สพฐ. โดยอาศัยความร่วมมือกับองค์การเจ้าของภาษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567 จาก http://https://pr-obec.blogspot.com/2019/08/blog-post_29.html

สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2566). เกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริกานต์ ทิพย์ภักดี และทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2565). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของจังหวัดอ่างทอง. วารสารบริหารการศึกษา มศว., 19(36), 39-51.

Carless, D. (2006). Collaborative ESL/EFL teaching in primary schools. ELT Journal, 60(4), 328-335.

Gardner, H. (1999). Intelligence reframed: multiple intelligences for the 21th century. New York: Basic Books.

Liu, L. (2006). Co-teaching between native and non-native English teachers: an exploration of co-teaching models and strategies in the Chinese primary school context. ESL/EFL actions on English Language Teaching, 7(2), 103-118.

Robinson, B., & Schaible, R. (1995). Team teaching: Reaping the benefits. College Teaching, 43(2), 57-60.

Stewart, T. (2005). Interdisciplinary team teaching as a model for teacher development. TESL-EJ Top, 9(2), 45-58.

Wu, Y. H., & Yang, J. C. (2008). A study on the rapid communication model of Chinese in Thailand. China Academic Journal Electronic Publishing House, 4, 125-132.

Xie, Y. (2012). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและแนวทางแก้ไขในการเขียนภาษาจีนของนักศึกษาไทย 泰国泰国泰国泰国学生写作偏学生写作偏学生写作偏学生写作偏误分析及其对策策策策 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เหอหนาน: มหาวิทยาลัยเจิ้งโจว.

เผยแพร่แล้ว

23-12-2024