ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาความยั่งยืนของเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านไทรงาม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การพัฒนา,, เกษตรผสมผสาน,, ความยั่งยืน,, เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านไทรงามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านวิถีชีวิตของเกษตรกรรม 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาเกษตรแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมที่มีภูมิลำเนาอยู่บ้านไทรงาม จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตของชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 ถึง 15,000 บาท การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการพัฒนาของเกษตรกรรมบ้านไทรงามมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.37) และรายด้านมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงและการได้ฝึกอบรม (= 3.61) แนวทางพัฒนาเกษตรกรแบบผสมผสานสู่ความสำเร็จของชุมชนบ้านไทรงาม ได้จาก 4 ปัจจัยคือ 1) การปรับเปลี่ยนทัศนคติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานเพื่อเป็นต้นแบบ 2) การทดลองปลูกพืชหมุนเวียนทำให้มีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจ 3) ชุมชนเกิดการพัฒนาอาชีพ ปลูกพืชที่ตรงกับความต้องการของตลาด จากการปลูกพืชระยะสั้น ระยะยาวหมุนเวียนสามารถนำออกจำหน่ายได้ตลอดปี และ 4) ใช้พื้นที่น้อยแต่ผลตอบแทนมากเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญเทศบาลตำบลนิคม เล็งเห็นความสำเร็จได้นำไปบรรจุไว้ในแผนเทศบัญญัติด้านเกษตรเชิงท่องเที่ยว ประจำปี 2565 สู่ชุมชนยั่งยืน
References
เกตุเมธ วินชยุทธ. (2559). การจัดการความรู้สู่แผนชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนการพัฒนาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิทยาการสารสนเทศ, 34(1), 1-25.
กฤศณัฏฐ์ เมธวินชยุตม์, สุภาพรรณ พาบุ, และรังสรรค์ นามวงศ์. (2559). การจัดการความรู้สู่แผนชุมชนพึ่งตนเองเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารสารสนเทศศาสตร์ (บรรณารักษ์ศาสตร์ มข.), 34(1), 1-25.
ง่ายงาม ประจวบวัน. (2558). การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนชุมชนบ้านหลักเมตร. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จารีพร เพชรชิต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร ในอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐกฤตา ศรีสุยงค์, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, และสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม. (2559). เกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ.ครั้งที่ 3 (O-ST031). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นภาพร เวชกามา และรัตน์ ชิณแสน. (2558). รูปแบบเกษตรประณีตเพื่อพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน: กรณีศึกษาเกษตรกรตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารเกษตรพระวรุณ, 12(1), 59-66.
พระศุกร์ หัยภาค. (2563). การจัดการเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. (2552). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (ความมั่นคงทางอาหาร) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤช เวชคะมะ. (2560). โมเดลเกษตรกรรมที่ประณีตเพื่อการพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน:กรณีศึกษาเกษตรกรตำบลนาซอ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. พระวรุณวารสารเกษตร,12(1), 59-66.
บัญชา จันทราช. (2565ก). จัดเวทีพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชน. 7 ธันวาคม 2565. ศาลากลางหมู่บ้านไทรงาม.
บัญชา จันทราช. (2565ข). เอกสารรายชื่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย. 7 ธันวาคม 2565. ศาลากลางหมู่บ้านไทรงาม.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระพี สาคริก. (2553). แผ่นดินถิ่นเกิด เกษตรกรรม การศึกษาและอนาคตของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: ทางช้างเผือก.
วิฑูรย์ปัญญากุล. (2556). เกษตรกรรมยั่งยืน: วิถีเกษตรกรรมเพื่ออนาคต (ฉบับที่3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.
วัชร ดำดวงรมย์. (2021). รูปแบบการจัดการการเกษตรแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา, 6(7), 7-10.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือด้วยมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเกษตร, 32(2), 209-221.
สำนักทะเบียนอำเภอสตึก. (2563). งานทะเบียนราษฎร์การปกครองส่วนท้องถิ่น. บุรีรัมย์.
เสาวนีย์ เล็กบางพง, ธีรพงศ์ มนต์แก้ว, นลินทิพย์ พูลนวล, และเสาวลักษณ์ ศรีปลอด. (2565). รูปแบบการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานวิถีชีวิตของเกษตรกรรุ่นใหม่ต้นแบบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยรําพรรณี, 16(3), 133-142.
อานัฐ ตันโช. (2556). ตำราเกษตรธรรมชาติประยุกต์ แนวคิด หลักการ เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคม. (2565). ข้อมูลพื้นฐานสำมโนประชากร. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2565 จาก https://www.nikom.go.th/portal/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept