การบูรณาการทักษะดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโรงเลื่อย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ธีรภัคสิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วีระยุทธ สุทโธ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การบูรณาการทักษะดนตรีพื้นบ้าน, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านทักษะดนตรีพื้นบ้าน 2) พัฒนาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังใช้ชุดฝึกทักษะดนตรี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน โดยเป็นการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโรงเลื่อย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทักษะดนตรีพื้นบ้านก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน ประเมินทักษะการปฏิบัติดนตรีพื้นบ้าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีการเรียนทักษะด้านดนตรีบ้างในรายวิชาดนตรี โดยเรียนเพียงแค่เนื้อหาพื้นฐานยังไม่ได้มีการฝึกปฏิบัติ เนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านดนตรียังมีได้เพียงพอ 2) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเท่ากับ 76.25/88.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 3) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมากและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านครูผู้สอน และด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสื่อในการจัดการเรียน ด้านชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน และด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก

References

กมลชนก อรรคอำนวย. (2563). แนวทางพัฒนาวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน โรงเรียนมัธยมในจังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กฤษฎ์ พีรธนัศสกุล. (2564). ฝึกเป่าแคนโดยใช้ K6 Model เพื่อการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านอีสาน. วารสารวิชาการ, 24(3), 30-39.

เกษมสันต์ ตราชู. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ เกษจันทร์ และวัน เดชพิชัย. (2564). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีตามแนวคิดของโคดายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและทักษะการบรรเลงดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (น. 863-875). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชานนท์ จงจินากูล, สยาม จวงประโคน, และชานนท์ ดำสนิท. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติกลองชุดตามแนวคิดของเดวีส์รายวิชาดุริยางค์สากล 2 สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(1), 47-57.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2549). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการ เรียนรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 7(1), 20-28.

ดิลก อุตราช และนฤมล ภูสิงห์. (2566). การส่งเสริมทักษะการปฏิบัติดนตรีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรมรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(3), 55-69.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปิยพันธ์ แสนทวีสุข, สุพรรณี เหลือบุญชู, อนุชิต แสนทวีสุข, สุทธิศักดิ์ แสนทวีสุข, กานนท์ เวชกามา, วัชระ หอมหวล, และศราวุธ โชติจำรัส. (2547). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นบ้านอีสานเรื่องการขับร้องเพลงพื้นบ้านอีสาน (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. (2549). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

พจณิชา ฤกษ์สมุทร. (2562). การพัฒนาทักษะทางดนตรีเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดาย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 74-87.

พนมพร จันทรปัญญา และวลัยพร เตชะสรพัศ. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเอร์น.

พรรณทิภา คำพรหม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ การวิเคราะห์ถดถอย แบบกำหนดลำดับขั้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศสุดา สีอ่อน, อัญชลี แสงอาวุธ, และกฤษณี สงสวัสดิ์. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับเด็กโดยใช้หลักการเรียนรู้ตาม แนวคิดของคาร์ล ออร์ฟเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติด้านดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 341-352.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา Education Research. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

โยธิน พลเขต. (2564). การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์.

ลลิดา ธรรมบุตร, ปริญญา ทองสอน, และอาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2556). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัด สมุทรปราการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 56-69.

วาสนา สาระจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะ การปฏิบัติทางดนตรีและทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แนะวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิฬาวรรณ อินทะเสน. (2553). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยใช้ชุดฝึกทักษะและกระบวนการเรียนรู้ แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เสาวลักษณ์ รัตนิพนธ์. (2560). ความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการแก่สังคม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566 จาก http://chumphon2.mju.ac.th/km/?p=520.

อัจฉรา ชำนาญวงษ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานพื้นฐานการตีโปงลางแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนสาระ การเรียนรู้ศิลปะดนตรีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

Goldberg, M., & Scott-kassner, C. (2002). Teaching other subject through music. In Colwell, R., & Richardson, C. (Eds.). The new handbook of research on music teaching and learning: A project of the music educations national conference. New York: Oxford University Press.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Merriam Webster, Incorporated. (1995). Merriam-Webster's Collegiate Dictionary. 10th ed. Massachusetts: Merriam-Webster.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

เผยแพร่แล้ว

24-07-2024