การพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นหมู่บ้านท่องเที่ยวตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, หมู่บ้านท่องเที่ยว, การมีส่วนร่วม, การเพิ่มมูลค่าบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานอัตลักษณ์ชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม การสังเกต บัตรคำลงคะแนน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแบบเชิงพรรณนา และวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 50 คน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ชุมชน คือ 1) ศาลตาปู่แสลงโทน 2) กำแพงดิน 3) ต้นแสลง 4) ปูนา และ5) ลายขัด จึงนำอัตลักษณ์ชุมชนมาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จนได้ลวดลายที่เหมาะสมเพื่อเป็นต้นแบบกับ การทอผ้า จำนวน 5 ลาย ย้อมสีเส้นฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ใช้เทคนิคการผสมสีให้เกิดสีหลากหลายเฉดสีให้สวยงามต่อการทอผ้า ออกแบบลายทอเสื่อกก จำนวน 5 ลายอัตลักษณ์ สีที่ใช้เป็นสีอัตลักษณ์ชุมชน การออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอพื้นเมือง ใช้เทคนิคการวางแพทเทิร์นลายผ้าให้เหมาะสมกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกาย จำนวน 1 ชุด การออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานเน้นความประณีต แข็งแรง และประโยชน์ใช้สอย จำนวน 5 ชนิด และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยการสร้างแบรนด์ ประกอบด้วยตราสินค้า ป้ายห้อยสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เน้นสัญลักษณ์ความเป็นอัตลักษณ์ชุมชน ทั้งรูปลักษณ์ และสี เป็นกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลการประเมินความพึงพอใจในที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นชุมชนตำบลแสลงโทน จากผู้บริโภค และบุคคลทั่วไป จำนวน 50 คน พบว่า มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมทุกต้นแบบผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ (= 4.52, S.D.= 0.63)
References
กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร. (2565). คู่มือแนวทางการส่งเสริมมูลค่าสินค้าเกษตรในกลุ่มเกษตรกร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมสหกรณ์.
คมเขต เพ็ชรรัตน์, มยุรี เรืองสมบัติ, และอุทัยวรรณ ประสงค์เงิน (2564). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสานจากต้นกก กลุ่มอาชีพสตรีบ้านหว้า จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(3), 141-153.
ฉัตรชัย อรรถปักษ์. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช : อมรินทร์.
ฐิญาภา เสถียรคมสรไกร และพิมพ์สิรี สุวรรณ (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 411-432.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
ธนพล จันทร์เรืองฤทธิ์. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิรัช สุดสังข์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปอยหลวง บุญเจริญ และณัฏฐริกา กงสะกุ. (2565). การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 46-57.
เพ็ญลักษณ์ อ่อนทรวง. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปเสื่อกกเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านหนองสิม ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 97-114.
ภัทรา เตชะธีระเศรษฐ์, สุวพิชชา ดวงบุผา, ณัฐพล แสงงาม และอดิศร ปิงยศ. (2562) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือบ้านปิน ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 4(2), 85-97.
ฤทัยทิพย์ รัตนพันธ์. (2562). การออกแบบลวดลายผ้าเพื่อต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลท้องถิ่นวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 11(1), 32-38.
วรรณพงษ ปาละกะวงษ ณ อยุธยา. (2565). รายงานผลการสำรวจโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมาพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานผลทางวิชาการ). นครราชสีมา: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
วสันต์ วรเจริญ, ภัทรธิรา ผลงาม, จุลดิษฐ อุปฮาต และพยุงพร ศรีจันทวงษ์. (2561). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในกลุ่มทอเสื่อกก ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(ฉบับพิเศษ), 55-68.
ศราวุธ ผิวแดง. (2558). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. อุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สิปราง เจริญผล. (2564). นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ร้านสินอักษรการพิมพ์ 888.
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packagin Design ออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ CORE FUCNTION.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาวิน อินทรังษี. (2559). การออกแบบนิเทศศิลป์กับการสร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept