ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา

ผู้แต่ง

  • นิโลบล ชวนาพิทักษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ปิยธิดา เจ๊ะหมัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • อนุรักษ์ ศิลปวิสุทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • สาธิตา ชัยพรพิศุทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจในแบรนด์, ภาพลักษณ์ของแบรนด์, ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ, การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม, นวัตกรรมผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์
ภิพัชรา และศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา มีการใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 0.746 ถึง 0.865 โดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มผู้บริโภคที่รู้จักและมีความสนใจในแบรนด์ภิพัชรา ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ทำการสุ่มแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้พบว่า การศึกษาปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) (gif.latex?\beta= 0.137) ด้านความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสินค้า (Product Uniqueness) (gif.latex?\beta= 0.143) ด้านการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Awareness) (gif.latex?\beta= 0.137) และด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) (gif.latex?\beta= 0.497) มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์
ภิพัชรา ในขณะที่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับแฟชั่น (Fashion Involvement) (gif.latex?\beta= -0.038) ไม่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรีพร อินทรเกตุ และวัชระ เวชประสิทธิ์. (2566). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(2), 44-63.

ดวงกมล ภัทรพงศ์มณี และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2566). การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า ประสบการณ์ในตราสินค้า และการรับรู้คุณภาพสินค้า ด้วย QR code บนฉลากสินค้าน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ ที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้า. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 455-470.

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2552). การประเมินภาพลักษณ์องค์กร ใน เอกสารสอนชุดวิชาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

พัทธ์ธีรา สมทรง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 91-102.

พิชญดา พวงเข็มแดง และสมชาย เล็กเจริญ. (2566). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันชีอินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 503-518.

ลงทุนเกิร์ล. (2563). Pipatchara แบรนด์กระเป๋าคราฟต์ ราคาหลักหมื่น ฝีมือคนไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566 จากhttps://www.longtungirl.com/1703

ศศิมา สุชินโรจน์ และศิวรี อรัญนารถ. (2566). แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 10(1), 144-162.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ. (2567). โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2567 จาก https://www.dip.go.th/files/article/attachments/dip/da9eec0e7f39486e90be70c37ac71df9.pdf

หทัยชนก วนิศรกุล, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, บัณฑิต ผังนิรันดร์, อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน, และปวีณา ศรีบุญเรือง. (2561). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อความภักดีของลูกค้าร้านนมสด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(1), 33-48.

Altin, A., Tecer, S., Tecer, L., Altin, S., & Kahraman, B. F. (2014). Environmental awareness level of secondary school students: a case study in Balkesir (Tirkiye). Procedia - Social and Behavioral Sciences, 141, 1208-1214.

Bloch, P.H. (1995). Seeking the Ideal Form: Product Design and Consumer Response. Journal of Marketing, 59, 16-29.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Delgado-Ballester, E. (2004). Applicability of a brand trust scale across product categories: A multigroup invariance analysis. European journal of Marketing, 38(5/6), 573-592.

Evan, W. M. (1966). Organizational Lag. Human Organization, 25(spring), 51-53.

Herbig, P.A., & Day, R.L. (1992). Customer Acceptance: The Key to Successful Introduction of Innovations. Marketing Intelligence & Planning, 10(1), 4-15.

Keller, K. L. (1998). Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity. Upper Saddle River: Prentice Hall.

Keller, K. L. (2003). Strategic Brand Management Building, Measuring, and Managing Brand Equity. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Koffka, K. (1978). Encyclopedia of the Social Sciences. New York: The Macmillan Company.

Likert, R. (1967). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Nicha. (2565). แบรนด์ไทยโกอินเตอร์ คุยกับ Pipatchara กระเป๋าที่ แอนน์ แฮททาเวย์ ถือออกงาน. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566 จาก https://praew.com/fashion/fashion-celebrity/439573.html

Nguyen, N., & Leblance, G. (2010). Corporate image and corporate reputation in customer’ relation decisions In service. Journal of Retailing and Customer Service, 8(4), 227-236.

Merisa, L. L., & Siahaan, R. A. (2018). The influence of product innovation and service quality to buying decision and the impact to repeat buying at Progo Road Bandung. The Asian Journal of Technology Management, 11(2), 118-124.

Moldovan, S., Steienhart, Y., & Ofen, S. (2014). Share and scare: Solving the communication dilemma of early adopters with a high need for uniqueness. Journal of consumer Psychology, 25(1), 1-14.

O’Cass, A. (2000). An Assessment of Consumers’ Product, Purchase Decision, Advertising and Consumption Involvement in Fashion Clothing. Journal of Economic Psychology, 21, 545-576.

O’Cass, A. (2004). Fashion Clothing Consumption: Antecedents and Consequences of Fashion Clothing Involvement. European Journal of Marketing, 38, 869-882.

Pipatchara. (2566). PIPATCHARA. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566 จาก https://pipatchara.com

Protheo, A., & McDonagh, P. (1992). Producing environmentally acceptable cosmetics? the impact of environmentalism on the United Kingdom cosmetics and toiletries industry. Journal of Marketing Management, 8(2), 147-166.

Shamlan, M. A., & Aldrees, A. M. (2015). Hard and soft tissue correlations in facial profiles: a canonical correlation study. Clinical, cosmetic and investigational dentistry, 7, 9-15.

Zaichkowsky, J. L. (1985). Measuring the Involvement Construct. Journal of Consumer Research, 12, 341-352.

เผยแพร่แล้ว

24-07-2024