องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด 19

ผู้แต่ง

  • ศุภกัญญา เกษมสุข คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • โชฒกามาศ พลศรี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิลารักข์ อ่อนสีบุตร คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 และ 2) ศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวัดองค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์เชิงยืนยัน (CFA)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสอบถามและตอบ ด้านการรู้จักผลิตภัณฑ์ ด้านการสนับสนุน ด้านการชื่นชอบผลิตภัณฑ์ และด้านการตัดสินใจ ส่วนองค์ประกอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง ด้านผลิตภัณฑ์ควบ ด้านรูปร่างผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์หลัก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยพบว่า องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง และผลิตภัณฑ์ควบ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสามารถพยากรณ์ (R2) ได้ถึง 69% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

ฐาปานีย์ กรณพัฒน์ฤชวี และภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยผ่านทางอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 111-124.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2557). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อภาคธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 246-254.

ทรงยุทธ ต้นวัน และรัชตาพร บุญกอง. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ด้านการแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร). วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(1), 112-126.

ทักษญา สง่าโยธิน, อัจจิมา ศุภจริยาวัตร, ตติยะ ฉิมพาลี, และพรพชร เหลืองดำรงชัย. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ซอสพริกหอยนางรมกลุ่มหอยนางรมครบวงจรคุ้งกระเบน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 1-12.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นท์.

นงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). การตลาด 4.0. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊ค.

นโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร. (2561). เริ่มเสนทางการพัฒนา “พืชสมุนไพร”ภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดโลก. วารสารเพื่อการเตือนภัยสินคาการเกษตรและอาหาร, 10(3), 5-7.

นฤมล เสร็จกิจ. (2564). ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิติภัทร เกษวิริยะการ และศศิประภา พันธนาเสวี. (2561). การศึกษาถึงอิทธิพลขององค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ Pre-Serum ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟรชบุ๊ก (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิรญาณ์ ใจชื้น และศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทราภรณ์ เอกวิทยาเวชนุกูล. (2564). กลยุทธ์การตลาดอาหารเสริมสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก. วารสาร มจร เลยปริทัศน์, 2(3), 142-153.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564 จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/nac/2021/slide/ss44-lec01.pdf

ศรัฐ สิมศิริ, มานะ เอี่ยมบัว, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, สธนวัชร์ ประกอบผล, วรรณิกา เกิดบาง, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล, และรตนนภดล สมิตินันทน์. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ กรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภา อุทยานแก่ชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 137-147.

ศศิ ศิริกาญจนารักษ์, อิราวัฒน์ ชมระกา, และภาศิริ เขตปิยรัตน์. (2565). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 64-76.

ศุภณัช ทองเรือน และภัทรภร สังขปรีชา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากสมุนไพรทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค กรณีศึกษาบริษัท นินจา พาสเนอร์ จำกัด (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนประชากรศาสตร์ประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.

อัญมณี ศุภธนากรกุล, นายิกา กำมเสศ, และวอนชนก ไชยสุนทร. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภคในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 13(1), 76-90.

Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In K. A. Bollen and J. S. Long (Eds.), Testing structural equation models. Newbury Park, CA: Sage.

Hu, L. T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1-55.

Kline, R. B. (1998). Software review: Software programs for structural equation modeling: Amos, EQS, and LISREL. Journal of Psychoeducational Assessment, 16(4), 343-364.

Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition. NJ: Pearson Prentice-Hall.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2016). Marketing Management. 15th ed. New Jersey: Pearson.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner's guide to structural equation modeling. 3rd ed. Routledge/Taylor & Francis Group.

McCarthy, J. E., & Perreault, W. D. (2000). Basic Marketing, A Managerial Approach. United States: McGrow Hill.

Lamb, C.W., Hair, J.F., & McDaniel, C. (2004). Principles of Marketing. South-Western Publishing, Cincinnati, OH.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 55.

เผยแพร่แล้ว

06-07-2024