แนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาชโลบลจักรี ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • วิเชียร วงค์วัน มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง
  • หัสยา วงค์วัน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

แนวทาง, การบริหารจัดการ, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนชโลบลจักรี ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนชโลบลจักรี จำนวน 35 ราย ประกอบด้วย 1) ผู้นำและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 5 ราย 2) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง และการประชุมกลุ่มย่อยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน สมาชิกมีความพึงพอใจมากที่สุดในการจัดการสินค้าหรือบริการ รองลงมา การบริหารตลาด การจัดการความรู้และข้อมูล ผู้นำและการบริหารวิสาหกิจชุมชน การวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน และการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ส่วนแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ด้านการพัฒนาสมาชิกกลุ่มคือ การส่งเสริมการเก็บออมเพื่อเป็นเงินลงทุน การเสริมสร้างความรู้การปลูกพืชผักอื่นๆ การทำปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุนการปลูกพืชผักให้กับสมาชิก ด้านการพัฒนาการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำแผนการผลิต และ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต และการแปรรูปผลผลิต ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การปลูกพืชผักอินทรีย์ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ทุกขั้นตอนแก่คนที่สนใจและสมาชิกรุ่นต่อไป

References

ชนิสรา แก้วสวรรค์. (2564). การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกจิชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 92-108.

ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์ และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 46-56.

ทิพย์วรรณ จันทรา (2564). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแบบยั่งยืนของกลุ่มอาชีพในเขตพื้นที่ บ้านดอนโรง ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4), 418-435.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 97-122.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

ศุภนิดา อิศราพรไพฑูรย์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2563). โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2566 จาก https://tdri.or.th/2016/06/farmers-debt-and-the-improvement-of-the-sledging-funds-under-the-supervision-of-moac/

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_ issue.

เสรี พงศ์พิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชนแผนแม่บท แนวคิด แนวทาง ตัวอย่างร่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาไท

Humphrey, A. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. SRI alumni Newsletter, 1(2), 7-8.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

เผยแพร่แล้ว

06-07-2024