ผลกระทบของพฤติกรรมการเรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเรียน, กระบวนการจัดการเรียนการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) ทดสอบพฤติกรรมการเรียนที่ส่งผลต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) ทดสอบพฤติกรรมการเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) ทดสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 119 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียน ด้านเจตคติในการเรียน และด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีผลกระทบเชิงบวกกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเรียน ด้านเจตคติในการเรียน และด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคนิคและวิธีการสอน และด้านการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนการสอน มีผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กชพร ใจอดทน, และอรณิชชา ทศตา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) วิทยาลัยนครราชสีมา, 27(2), 30-41.
กิติพงษ์ แหน่งสกูล. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการปฏิบัติงาน เรื่องการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบชี้แนะร่วมกับรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิรัสย์ แสนคำภา. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ เรื่อง มารยาทชาวพุทธนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการเข้าเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ตรัง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น. 1035-1046). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา, และพิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2564). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 3(32), 103 -115.
ธันวดี ดอนวิเศษ, และปวริศา จรดล. (2566). แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(6), 116-126.
นงลักษณ์ จิ๋วจู. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยใช้การสอนแบบ e-learning. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 60-70.
นธี เหมมันต์, อภินันท์ สิริรัตนจิตต์, สมชัย ปราบรัตน์, และสรัญญา โยะหมาด. (2561). กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 119-129.
นันทวดี ทองอ่อน, และมฤษฎ์ แก้วจินดา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(1), 129-138.
นูรมา อาลี. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุรณี ทรัพย์ถนอม, และปัทมา มูลหงส์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานการวิจัย). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ประคอง รัศมีแก้ว. (2565). รูปแบบการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสร้างคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านหนองแหน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(2), 428-437.
พีระพล ชูศรีโฉม, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, จักรี อย่าเสียสัตย์, และฉัตรชณา เพริดพริ้ง. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(1), 151-164.
ภัทรพร พงศาปรมัตถ์. (2561). พฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขิงนิสิตในรายวิชาการภาษีอากร 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 75-86.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วรางค์ รามบุตร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการบัญชีของนักศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วรารัตน์ บุญแฝง, ปิยะกษิดิ์เดช เปลือยศรี, และศรัญญา ละม่อมสาย. (2560). กระบวนการจัดการเรียนการสอนและปัญหาของหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรมของสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาใน สปป.ลาว. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 56-70.
วิยะพร บัวระพา, ปาริชาติ ชัยขันธ์, วิสุดา อินทรเพ็ชร, และขวัญพิชชา บุญอ่ำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมฤดี พิพิธกุล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบกล่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2566). รายชื่อนักศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1/2566. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566 จาก https://oapr.bru.ac.th/.
Aaker, D.A., Kumar, V., & Day, G.S. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York: John Wiley & Sons.
Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision making. 4th ed. New York: John Wiley and Son.
Hair, J. F., Hult, G.T.M., Ringle, C., & Sarstedt, M. A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California, CA: Sage Publications.
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Wong, K.K.-K. (2013). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM) techniques using Smart PLS. Marketing Bulletin, 24(1), 1-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept