ทักษะความเป็นมืออาชีพทางการบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีและความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • นุชรภา คุ้มครอง คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ดารณี เอื้อชนะจิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ทักษะวิชาชีพบัญชี, คุณภาพการสอบบัญชี, ความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะความเป็นมืออาชีพทางการบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชี 2) ศึกษาคุณภาพการสอบบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditors : TA) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 150 ราย โดยมีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ทักษะความเป็นมืออาชีพทางการบัญชี ได้แก่ ด้านการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด ด้านความสัมพันธ์และการสื่อสาร ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชี ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้อง ด้านความเที่ยงธรรม ด้านความชัดเจน ด้านความกะทัดรัด ด้านความสร้างสรรค์ ด้านความสมบูรณ์ ด้านความทันเวลา และคุณภาพการสอบบัญชี ได้แก่ ด้านความเที่ยงธรรม ด้านความชัดเจน และด้านความสร้างสรรค์ ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมสรรพากร. (2566). ฐานข้อมูลรายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 จากhttps://rdtaxaudit.rd.go.th/TaxAuditInternet/IRPT0110.action.

จารินยา แก้วสุริยา. (2560). คุณภาพในการสอบบัญชีและความต่อเนื่องในการสอบทานงานสอบบัญชีที่มีผลกระทบของต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต CPA ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จุฬาลักษณ์ นอนิล. (2557). หน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสอบบัญชีที่มีผลกระทบของต่อความเชื่อถือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต CPA ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(2), 101-114.

ผกามาศ บุตรสาลี, สุพัตรา รักการศิลป์ และเอมอร แสวงวโรตม์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวังและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(1), 28-44.

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพที่ดี ความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบและความสำเร็จในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มงคล กิตติวุฒิไกร. (2557). ผลกระทบของการพัฒนาความรู้ทางการสอบบัญชีที่มีต่อความเป็นมือ อาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตติยา วงศรีลา และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2561). สมรรถนะการสอบบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 448-460). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ลัดดาวัลย์ ยอดบัว. (2560). อิทธิพลของการควบคุมตรวจบัญชีและความเชี่ยวชาญทางบัญชีของผู้ตรวจสอบมีผลต่อการสอบบัญชี ของสำนักงานสอบบัญชีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 342-357.

วันรักษ์ โสภาพร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมการสอบบัญชีกับคุณภาพการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรีอุบล ทองคำ. (2557). เทคนิคการสอบบัญชีที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบ TA ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สลักจิต นิลผาย. (2561). ทักษะการบัญชีของผู้ตรวจประเมินความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ และความสำเร็จในการตรวจสอบ : หลักฐานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และผู้ตรวจสอบภาษี (TA) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 138-146.

เสน่ห์ พุฒตาล. (2554). แนวคิดทฤษฎีบริหารเชิงสถานการณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 จากhttp://www.kroobannok.com/blog/20420.

อรพินท์ วงศ์ก่อ. (2555). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานทางการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพการ สอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Chandler, A. (1962). Strategy and structure: Chapters in the history of the industrial Enterprise Cambridge. MA: The MIT Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

เผยแพร่แล้ว

08-10-2023