ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การเลือกใช้บริการ, เรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการในการเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา,กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทดสอบเครื่องมือโดยใช้การทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และการทดสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอนุมาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า f-test ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด
( gif.latex?x\bar{}=4.22, S.D.=0.76) และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการในการเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) เพศต่างกัน มีผลต่อความเห็นอกเห็นใจต่างกัน 2) อายุต่างกัน มีผลต่อความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และการตอบสนองต่อความต้องการการบริการ ต่างกัน 3) สถานภาพต่างกัน ไม่มีผลต่อ การเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร 4) ระดับการศึกษาต่างกัน มีผลต่อความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ต่างกัน 5) อาชีพต่างกัน มีผลต่อ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา ทวินัน และแววมยุรา คำสุข. (2558). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 151-167

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลพร้อมดึงตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญเพิ่มรายได้พร้อมร่วมมือกับ Netflix จัดทำคู่มือการท่องเที่ยวไทย ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ Soft power. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จากhttps://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/162187

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2563). คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ, 6(2), 44-56

จีรวัฒน์ เยาวนิช. (2562). การศึกษาบุคลิกภาพหลักหาประการที่สงผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดลอมภายในองคกรและพฤติกรรมความเป็นผู้ประกอบการในองคกรของบุคลากรกลุมอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินในระเทศไทย. (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2561). ความคาดหวัง และการรับรู้คุณภาพบริการของฝ่ายต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรม

ดาว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 78-90

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือ ฮีโร่ตัวจริง? สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_29Oct2019.pdf

นครินทร์ ทั่งทอง. (2562). การเสริมสร้างประสบการณ์ความทรงจำที่พิเศษของนักท่องเที่ยวเรือสำราญในท่าเรือแวะพัก เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 14(3), 41-55

ภานุมาศ เกตุแก้ว. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิมาภรณ์ สิทธิชัย, สิญาธร ขุนอ่อน, และนิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศร. (2560). คุณภาพบริการของธุรกิจโรงแรมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 182-203

อารยา ลิมทวีสมเกียรติ. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Nail Spa ของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารีรัตน์ พรหมนิล. (2561). รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เผยแพร่แล้ว

11-10-2023