ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ดาวเดือน อินเตชะ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • ธนัชชา ขำศรี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • ประสิทธชัย เดชขำ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ความสำเร็จของผู้ประกอบการ, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 174 กลุ่ม ทำการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1)  ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=4.33) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?x\bar{}=4.55) รองลงมา ด้านราคา (gif.latex?x\bar{}=4.47) ด้านการส่งเสริมการตลาด (gif.latex?x\bar{}=4.46) และด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?x\bar{}=3.85) 2)  ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จวิสาหกิจชุมชน โดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=4.11) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระบวนเรียนรู้และการเติบโต (gif.latex?x\bar{}=4.49) รองลงมา การบริหารจัดการ (gif.latex?x\bar{}=4.33) การจัดการด้านลูกค้า (gif.latex?x\bar{}=4.29) และ การจัดการด้านการเงิน  (gif.latex?x\bar{}=3.33) และ 3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ใน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ฐิตินันท์ หรั่งยิ้ม, พลอยไพลิน จิตต์สดใส และธนินท์ ตีรสวัสดิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอก บ้านโคกสว่าง จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 52-58.

ณัตตยา เอี่ยมคง. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 7(1), 9-20.

บุษบา วงษา. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การสื่อสาร การตลาดแบบครบวงจร และคุณลักษณะของผู้นําเสนอสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ชุมชนของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดพิษณุโลก (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เปรมกมล หงส์ยนต์. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

พสุ เดชะรินทร์. (2546). กลยุทธ์ใหม่ในการจัดการ. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ

เพลินพิศ คชวัฒนา. (2564). ติดปีก วิสาหกิจชุมชน ทั่วไทย ให้เข้มแข็ง เสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้พร้อมฝ่าทุกวิกฤต. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://www.salika.co/2021/02/13/community-enterprises-solution-for-fight-covid/

ภารวี มณีจักร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://www.ryt9.com/s/prg/3362387

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563). สงขลานครินทร์วิเคราะห์เส้นทางสู่เศรษฐกิจวิถีใหม่ ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก สู่วิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://www.psu.ac.th/th/

รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 1-15.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). จำนวนวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://smce.doae.go.th/

วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน : ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 9(1), 103-126.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินทิพย์ เหลืองสุดใจชื้น. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.

Karabulut, A. T. (2015). Effects of Innovation Strategy on Firm Performance: A Study Conducted on Manufacturing Firms in Turkey. Social and Behavioral Sciences, 195, 1338-1347.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Fishbeic, M. (Ed.). Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). Wiley & Son.

Kotler, P. (2004). Principles of Marketing. (10th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

เผยแพร่แล้ว

03-10-2023