การพัฒนากฎหมายว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของโครงสร้างหน้าที่และอำนาจ ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏตามหลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ โชควรกุล รองศาสตราจารย์ ดร. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, อำนาจหน้าที่, สภามหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาลของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ข้อค้นพบของการวิจัยคือ แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ให้มีความเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้แนวทางการพัฒนาปรับปรุงข้อกฎหมายจากกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ข้อเสนอแนะของการวิจัย จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายของสภาพมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย หลักการและวิธีซึ่งได้มาของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตลอดจนระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และความโปร่งใสสามารถตรวจสอบกระบวนการทำงานทุกระบบได้ ซึ่งสามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ข้อเสนอแนะเรื่องที่วิจัยต่อ คือ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับโครงสร้างหน้าที่และอำนาจของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ

References

คณิน บุญสุวรรณ, (2541). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จินตนา บุญบงการ. (2554). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมพล พลมุข. (2562). สกู๊ปหน้า 1: ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ยุติเชื้อร้ายโรคเอดส์. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1714335

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2552). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พระวิรัช เอี่ยมศรีดี. (2554). การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารงานที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของครูและบุคลากรของสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2551). กระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิกุล ภูมิโคกรักษ์. (2550). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏภายใต้พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 (ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลาวัณย์ หงษ์นคร. (2565). บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

Brian, C.S. (1985). Decentralization. London: Georg all en & Unwin (Publisshers) lte.

Rondinelli, D., & Cheema, C. G. (1983). Decentralization and Development, Policy Implementation in Development Countries. London: Sage.

Dennis, R. (1999). What is Decentralization. In Decentralization Briefing Note. World Bank Institute Working Paper.

Hodge, B. J., & Anthony, W.P. (1991). Organization Theory. 4th ed. Boston: Allyn and Bacon Kerlinger.

United Nations ESCAP. (2009). What is Good Governance? Retrieved on March 9, 2023 from http://www.unescap.org/sites/default/files/good-governance.pdf

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023