การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยกลไกประชารัฐ ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย : กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำมูลในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้
คำสำคัญ:
การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว, ประชารัฐ, ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย, เขตพัฒนาการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนในลุ่มน้ำมูลแต่ละแห่ง และความเชื่อมโยงในฐานะสินค้าการท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลไกประชารัฐและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว และ (3) เพื่อเสนอแนะรูปแบบการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยกลไกประชารัฐที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ซึ่งการวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือ กับกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ซึ่ง ณ ที่นี้คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 กลุ่ม คือ (1) ภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (2) ชุมชน (3) ภาคเอกชนและวิสาหกิจเพื่อสังคม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัยและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการท่องเที่ยวชุมชนในลุ่มน้ำมูล มีครบ 4 ด้าน คือ ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม องค์กรชุมชน การจัดการ และการเรียนรู้ สำหรับศักยภาพการท่องเที่ยวในแต่ละแห่งนั้น ใช้เกณฑ์การประเมิน 28 เป้าประสงค์ พบว่า บ้านปราสาทมีศักยภาพสูงที่สุด (28 เป้าประสงค์) บ้านบุไทรและสุขสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงที่สุดเท่ากัน (25 เป้าประสงค์) บ้านจะโปะและบ้านสนวนนอก มีศักยภาพสูงเท่ากัน (23 เป้าประสงค์) บ้านชีทวน มีศักยภาพสูง (20 เป้าประสงค์) บ้านท่าสว่าง มีศักยภาพปานกลาง (18 เป้าประสงค์) สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลไกประชารัฐและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พบว่ามีจุดแข็ง คือ การตลาดและการบริหารจัดการ ส่วนรูปแบบในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว กำหนดได้เป็น 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้และทุนทางสังคมเพื่อเชื่อมโยงการการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ และ (2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และกำหนดตำแหน่งการตลาด เพื่อสร้างอัตลักษณ์ร่วมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2555). ทรัพยากรน้ำในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ชุลีกาญจน์ ไชยเมืองดี. (2556). วิสาหกิจชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเวศ วะสี. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน จุดคานงัดการพัฒนาทุกด้าน. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์. (2559). บทบทของท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยววิถีไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
พรลภัส สุวรรณรัตน์. (2559). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ธุรกิจท่องเที่ยวปรับกลยุทธ์รับโอกาส และความท้าทายปี 2560. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2556). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่ : สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว.
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2555). ช้างดึกดำบรรพ์โคราช. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว. (2559). ไทม์ไลน์ Quick win คิกออฟพลังประชารัฐขับเคลื่อนท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2559). การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : อพท.
อนุวัตร อินทนา. (2557). การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ : เสียงสะท้อนของกลุ่มชาติพันธุ์ในโลกเสรีนิยมใหม่. เชียงใหม่ : สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
AESAN Secretariat. (2011). ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015. Jakarta: Association of Southeast Asian Nations.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept