การศึกษารูปแบบห้องปฏิบัติการนโยบาย : กรณีศึกษา “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”

ผู้แต่ง

  • นัศรุณ กูใหญ่ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, ห้องปฏิบัติการนโยบาย, ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาและสาระสำคัญของนโยบาย “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และลักษณะการดำเนินนโยบายสาธารณะแบบทดลองในกรณีโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ซึ่งดำเนินการช่วงเดือนมกราคม 2564 จนถึงเดือนธันวาคม 2565 ผู้วิจัยทำการจัดเก็บข้อมูลจากเอกสารการดำเนินนโยบาย สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนหน่วยหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน และตัวแทนภาคประชาสังคม รวมจำนวน 6 คน ในช่วงเดือนมกราคม 2563 – ธันวาคม 2565 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินนโยบาย ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ประสบผลสำเร็จในการเปิดเมืองเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายในพื้นที่ และบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตให้กลับมาเริ่มใหม่ได้อีกครั้ง ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้คลี่คลายลง ซึ่งขั้นตอนการนำนโยบายมาปฏิบัติสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง คือ ช่วงเตรียมความพร้อม ช่วงทดลองนโยบาย ช่วงการเรียนรู้และช่วงการปรับตัว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการดำเนินแผนงานร่วมกัน ซึ่งนโยบายภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ และทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งการใช้กระบวนการทดลองนโยบายในพื้นที่จริง กรณีภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ทำให้รัฐบาลสามารถประเมินผลกระทบและความคุ้มค่าของการดำเนินการนโยบายสาธารณะผ่านโครงการนำร่องและขยายผลต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้

References

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2564). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทยผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_DigitalEd.pdf

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 256 ง. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2021/10/CV-19-146.pdf

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2564). รายงานการศึกษาขั้นต้นของสถานการณ์การลดลงอย่างเฉียบพลันของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวของจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.

วสันต์ เหลืองประภัสร์, แพรวา สาธุธรรม, รุ่งศักดิ์ สาธุธรรม และว่าน ฉันทวิลาสวงศ์. (2563). ห้องปฏิบัติการนโยบาย (Policy Lab) กับนวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จากhttp://www.polsci.tu.ac.th/direk/view.aspx?id=495

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 61. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.mots.go.th/news/category/497

พบสุข ช่ำชอง. (2561). การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือ: ฐานรากนวัตกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา.

Dye, T. R. (1978). Policy Analysis (2nd ed). Alabama: The University of Alabama Press.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6, 447-488.

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023