แนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ประชัน คะเนวัน รองศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราลภัฏบุรีรัมย์
  • สถาพร วิชัยรัมย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ธัญญรัตน์ คะเนวัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาหลักสูตร, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านวิชาเฉพาะด้าน ด้านวิชาสัมพันธ์ และด้านวิชาเสริม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (Open-ended Form) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.8606 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางในภาพรวมในการพัฒนาตามความคิดเห็นของศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร (gif.latex?x\bar{}=4.34) รองลงมา คือ ด้านวิชาสัมพันธ์ (gif.latex?x\bar{}= 4.34) ด้านวิชาเสริม (gif.latex?x\bar{}= 4.29) ด้านวิชาเฉพาะด้าน (gif.latex?x\bar{}=4.25) ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ควรมีการจัดลำดับหลักสูตรหลักสูตรให้เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 31.20 รองลงมา คือ ควรจัดเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 24.57 และควรมีการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างสถาบัน คิดเป็นร้อยละ 18.21

References

จุฑามาศ พรรณสมัย. (2560). ประสิทธิภาพการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 13-29.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลูกขวัญ อินทร์คล้าย (2559). แนวทางการพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก :มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้น จำกัด.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). สถิติประยุกต์สำหรับนักวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภัทร บุตรไทย. (2550). การประเมินคุณลักษณะมหาบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี พ.ศ.2564-2549. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิรดี จิโรภาสและ อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2562). การประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Taba, H., (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Oliva, P. F. (2009). Developing the curriculum. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.

เผยแพร่แล้ว

12-06-2020