การใช้สื่อโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มยอดขาย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ภัคณิษา อภิศุภกรกุล อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สื่อโฆษณา , การสร้างภาพลักษณ์ , การเพิ่มยอดขาย , กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สื่อโฆษณาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  2) แนวทางการพัฒนาสื่อโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มยอดขายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมสาน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 11 กลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 78.7 อายุระหว่าง 46-56 ปี คิดเป็นร้อยละ 50 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 51.3 ประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 54 รายได้ต่อเดือนประมาณ 3,000-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.03 ความคิดเห็นการใช้สื่อโฆษณาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการใช้สื่อโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มยอดขายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้การสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงต้องกำหนดแผนดังนี้ 1) กลุ่มเป้าหมาย 2) วัตถุประสงค์ 3) กลยุทธ์การสื่อสารหรือเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่ใช้ 4) กลยุทธ์การใช้สื่อ และ 5) กลยุทธ์การนำเสนอสาร  ส่วนแนวทางการการใช้สื่อโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดขาย จะใช้สื่อที่นำมาเสนอคือ 1. ใช้รถกระจายเสียงวิ่งให้ทั่วในเขตพื้นที่บริการ 2. ขึ้นป้ายคัทเอาร์หรือบิลบอร์ดให้ชัดเจน 3. ใช้ประโยชน์จากวิทยุชุมชนให้เป็นประโยชน์ และ 4. ประชาสัมพันธ์ผ่านโลกออนไลน์

References

กันต์กนิษฐ์ พงศ์กระพันธ์. (2552). ปัญหาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

คณะกรรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์และฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์การตลาดของธุรกิจชุมชน กรณีชุมชนหินตั้ง-บ้านดง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 3(1), 10-21.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2564) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อออนไลน์วิสาหกิจชุมชนข้าวลุงรินตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 23(2), 1-16.

นริสรา ลอยฟ้า, เสาวลักษณ์ รักชอบ, และปราริชาติ รื่นพงษ์พันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

นุจรีย์ มันดาวิวรรณ์. (2551). กระบวนการตอบสนองไอดาโมเดล. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ประมา ศาสตระรุจิ, และณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจชุมชนผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ของชุมชนหินตั้ง ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 10(20), 85-96.

พิชิต พวงภาคีศิริ, นารีวรรณ พวงภาคีศิริ, และสุรพล ชุ่มกลิ่น. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านตำบลนากก อำเภอลับแล จังหวัดอุดตรดิตถ์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัยครั้งที่ 1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เมทิกา พ่วงแสง, และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-66.

องสมุห์ธนวัฒน์ เพี้ยกเยียน, พระปลัด ประพจน์ อยู่สำราญ, และอุบล วุฒิพรโสภณ. (2564). การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Kotler, P. (2002). Marketing Management: Analysis, planning, Implementation and control. 9th ed. New Jersey: Prentice Hall International.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2023