นวัตกรรมการแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาลของผู้ผลิตตลาดเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ ในยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • สายใจ ทันการ รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สุวัฒน์ มณีวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จิตตะวัน กุโบลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดการความรู้ชุมชนต้นแบบในการแปรรูปผลผลิตเกษตรปลอดสารจังหวัดบุรีรัมย์ 2)  เพื่อพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าจากผักปลอดสาร  และ 3) เพื่อยกระดับเกษตรปลอดสารให้มีรายได้จากการแปรรูปผลผลิตเกษตรปลอดสารให้เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ใช้วิธีการวิจัยแบบชุมชนมีส่วน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการวิจัยแบบชุมชนมีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และเทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ สมาชิกตลาดเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกตลาดเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 24 ครอบครัว ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากผักปลอดสาร คือการสร้างนวัตกรรมเพื่อถนอมอาหารเพื่อรักษาคุณภาพอาหารไว้นานกว่าปกติ ชื่อ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). นโยบายการพัฒนาการเกษตร. สืบค้าเมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก https://www.doae.go.th/

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์.

จุฑาทิพย์ ทิพย์เหรียญ. (2559). พฤติกรรมการซื้อของฝากของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ซาฟุเราะห์ สาเฮาะ. (2559). การรับรู้ภาพลักษณ์สินค้าของที่ระลึกจังหวัดสตูล. สงขลา: คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2548). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ยูเรก้า.

เชษฐา จงกนกพล. (2557). รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานเครือข่ายตลาดผักปลอด สารพิษในโรงพยาบาล โรงพยาบาลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทยเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประยุทธ์ จันโอชา. (2562). ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จากhttps://www.thairath.co.th/content/613903.

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วินัย บุญยู้. (2554). การพัฒนาการดำเนินงานตลาดจำหน่ายผักปลอดสารพิษระดับชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนิคม ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์. (2562). นโยบายการส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562 จากhttp://www.buriram.doae.go.th.

สุวิทย์ เมษอินทรี. (2562). ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จากhttps://www.thairath.co.th/content/613903.

เผยแพร่แล้ว

12-06-2020