การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการเพื่อรองรับเมืองท่องเที่ยว ทางกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์อย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สายใจ ทันการ รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ปัทมาวดี วงษ์เกิด อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ภัคณิษา อภิศุภกรกุล อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วิทวัส สหวงษ์ อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จงกล ศิริประภา อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้การสื่อสารในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายผลผลิตและกิจกรรมของชมรมตลาดสีเขียวจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ประกอบการสินค้าการเกษตรปลอดสารในชมรมตลาดสีเขียวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 23 ครอบครัว 2) ตัวแทนของอำเภอที่มีพื้นที่ทำการเกษตร ที่เป็นตัวแทนชุมชนเข้มแข็ง มีผลผลิตที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย  อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอโนนดินแดง 3) กลุ่มโฮมสเตย์ บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้การสนทนากลุ่มย่อย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการใช้การสื่อสารในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายผลผลิตและกิจกรรมของชมรมตลาดสีเขียวจังหวัดบุรีรัมย์  คือ สื่อบุคคลและสื่อเฟสบุคส์ โดยการพูดแนะนำให้ทราบว่ามีตลาดสีเขียวในจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้านแล้วแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติของผลผลิต และเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดผ่านเฟสบุคส์  มีระบบสารสนเทศส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อhttps://www.fruitburiram.com/home  รูปแบบการจัดการทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบ้านโคกเมือง คือการสร้างที่นั่งพักผ่อน ภายใต้แนวคิด การใช้เอกลักษณ์ท้องถิ่นเมืองร้อน  สามารถใช้พื้นที่เอนกประสงค์รวมถึงเป็นที่พักผ่อนของเจ้าของบ้านพักและนักท่องเที่ยวได้ด้วย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). เครื่องมือการทำงานแนววัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2540). สื่อพื้นบ้าน. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ขนิษฐา กาญจนรังษีนนท์. (2549). เครือข่ายเพื่อการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556 จากhttp://cddweb.cdd.go.th/cmu/cmu/network01.htm.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2542). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิตาภา สุขพลำ. (2548). สื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2548). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ยูเรก้า.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2555). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท, สุณี เลิศแสวงกิจ และพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย. (2540). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: ภิญโญการพิมพ์.

บุณยวีร์ ลุมาดกมลพันธ์. (2549). แนวทางการสร้างเครือข่ายด้านสวัสดิการสังคมในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2543). บริบทของสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556 จาก http://www.bangkokbiznews.com.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2556). การสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นามมีบุคส์พับลิเคชั่น.

พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เดอร์มีสท์.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2543). พจนานุกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมชัย จิรโรจน์วัฒน. (2551). แนวคิดและหลักการจัดตั้งเครือข่าย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556 จากhttp://www.aidsthai.org/module/module5.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2542). สื่อสารทางการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). หลักการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาตนเอง (Self Development). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556 จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Self_Development.htm.

Apple-itunes. (2560). แหล่งข้อมูลพอดคาสท์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 จาก https://www.apple.com/th/itunes/podcasts.

Burke, A. (1999). Communications & Development: a practical guide. London: Social Development Division Department for International Development.

Berlo, D.K. (1960). The process of communication an introduction to theory and practice. New York: Holt. Rinehart and Winston.

Lasswell, H.D. (1948). The Communication of Ideas. New York: Harper & Brothers.

Oknation. (2560). สื่อสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560 จากhttp://www.oknation.net/blog/mediaaholic/2007/10/03/entry-1

เผยแพร่แล้ว

12-06-2020