กฎหมายต้นแบบเพื่อควบคุมธุรกิจดำน้ำ

ผู้แต่ง

  • ชัดติยาพร คำแสน นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ศาสตราจารย์ ดร. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ธุรกิจดำน้ำ, การท่องเที่ยวทางทะเล, การควบคุม, กฎหมายต้นแบบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบเพื่อการควบคุมธุรกิจดำน้ำ  การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น  ผลการวิจัยพบว่า การดำน้ำเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลที่ได้รับความนิยมแต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพยากรใต้ทะเล โดยที่ธุรกิจการดำน้ำมีปัญหาที่เป็นผลต่อการดำน้ำจากหลายฝ่าย คือ  ปัญหาจากผู้ประกอบการ ปัญหาจากสถาบันสอนดำน้ำ การสอนการดำน้ำที่ไม่มีมาตรฐานไม่เป็นที่ยอมรับของสากล ปัญหาอุปกรณ์การดำน้ำที่ไม่มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ตามมาตรฐาน ปัญหาจากผู้ฝึกสอนดำน้ำ ปัญหาจากมัคคุเทศก์ที่ขาดความรู้และความเข้าใจในการดำน้ำที่ดีพอ ปัญหาจากเรือที่พานักดำน้ำไปดำที่ขาดอุปกรณ์ครบถ้วนสำหรับการเยียวยาเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการดำน้ำ รวมถึงปัญหาคนขับเรือที่ไม่มีใบอนุญาตขับเรือ การขาดความรู้และทักษะในการขับเรือ และ การทิ้งสมอเรือไม่ถูกที่สร้างความเสียหายต่อแนวปะการัง     และปัญหาการไม่ได้ตรวจสุขภาพของนักดำน้ำก่อนการดำน้ำ ปัญหาเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจดำน้ำซึ่งยังไม่มีกฎหมายเฉพาะควบคุม การวิจัยจึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบเพื่อการควบคุมธุรกิจดำน้ำโดยมีแนวทางจากต่างประเทศ ซึ่งกฎหมายต้นแบบมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย 5 หมวด 36 มาตราการวิจัยเสนอแนะให้มีการนำร่างกฎหมายต้นแบบเพื่อการควบคุมธุรกิจดำน้ำไปตราเป็นกฎหมายตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2554). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2556). การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

นันทพล กาญจนวัฒน์. (2555). ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการลดขยะและขจัดมลพิษสิ่งแวดล้อม (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิวัติ เรืองพานิช.(2542). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2545). บทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งชาติ.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2555). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2542). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2543). การจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ: รูปแบบและมาตรฐานทางสังคมเศรษฐศาสตร์ การจัดการและกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, และนันทพล กาญจนวัฒน์. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อาทิพาเนีย.

สุษม ศุภนิตย์. (2544). องค์การเอกชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

อำนาจ เจริญศิลป์. (2543). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022