กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาเทศกิจเป็นตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ภูนาฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ศาสตราจารย์ ดร. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ตำรวจท้องถิ่น, ตำรวจเทศกิจ, การกระจายอำนาจ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาเทศกิจเป็นตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร เป็นตำรวจท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ  การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการจราจร ปัญหาการกระทำผิดข้อบัญญัติและกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร สร้างความเสียหาย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพมหานคร ในขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรง ต้องดูแลรับผิดชอบเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรแต่มีกำลังพลน้อยและงบประมาณจำกัดส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทำให้ปัญหาอาชญากรรมและปัญหาการกระทำผิดกฎหมายมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นการพัฒนาเทศกิจให้เป็นตำรวจเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เป็นแนวคิดของหลักการกระจายอำนาจของไทยที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้ทำหน้าที่รักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีโครงสร้างและขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การจัดระเบียบการจราจรและการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในอำนาจของกรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายต้นแบบของการวิจัยซึ่งจะรองรับการจัดตั้งสำนักตำรวจเทศกิจ สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 หมวด 28 มาตรา หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 โครงสร้างองค์กรตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร หมวด 3 คณะกรรมการตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร หมวด 4 ตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร หมวด 5 สิทธิประโยชน์ และบทเฉพาะกาล   พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายต้นแบบของการวิจัยนี้การวิจัยเสนอแนะให้นำร่างพระราชกฤษฎีกานี้ไปเสนอคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 8 ทวิ เพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ

References

กฤษณพงค์ พูตระกูล. (2560). การป้องกันอาชญากรรมในทศวรรษหน้ากับการพัฒนาระบบงานตำรวจ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ณัฐพล ชุมวรฐายี. (2552). ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

นิษา เลิศโตมรสกุล, และชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2552). การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมแบบไม่เป็นทางการ: กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการยุติธรรม.

ประเสริฐ บุญนิรันดร์, และจรูญ ศรีสมบัติ. (2536). ระบบตำรวจนานาชาติ (World Police). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

วีระชัย ศรีวะอุไร. (2564). กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งตำรวจท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ลิลี่ โกศัยยานนท์, หควณ ชูเพ็ญ, และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2557). การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุชิน รอดกำเนิด. (2561). การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบป้อมตำรวจชุมชนเมือง(โคบัง). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อาทิพาเนีย.

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022