การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการบริหารการศึกษา
  • อนุรักษ์ นวพรไพศาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย
  • ฤาชุตา วงศ์ชูเวช อาจารย์ คณะเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย

คำสำคัญ:

ความล้าในการขับรถขนส่งสารเคมี, ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้าสะสม, ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเวลาเผื่อเพื่อการพักผ่อนและสร้างรูปแบบการพักในการขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความล้า ของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย และ 3) เพื่อศึกษาและทดสอบรูปแบบการพักในการขับรถขนส่งสารเคมีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองในโรงงานผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเส้นทางการเดินรถระหว่างอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีเฉพาะในเส้นทางนี้เป็นตัวอย่างศึกษาทุกคนจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้สึกล้าเชิงจิตพิสัย เครื่องวัดความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ผลการศึกษาคำนวณเวลาเผื่อเพื่อการพักผ่อนตามแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความจำเป็นส่วนบุคคล ความล้าพื้นฐาน ปัจจัยในการทำงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  สถิต Z-test for proportion difference, สถิติระหว่างค่าความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ผลการวิจัยพบว่า ต้องมีระยะเวลาพักเท่ากับ 24% หรือเท่ากับ 173 นาที ซึ่งหากไม่นับรวมเวลาการโหลดก๊าซซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะเหลือเวลาที่ต้องหยุดพักอีก 53 นาที จากนั้นจึงได้นำมาจัดเป็นรูปแบบการขับรถ 3 รูปแบบ รูปแบบที่1 เป็นรูปแบบเดิมที่เป็นอิสระทั้งเส้นทาง จุดพัก และเวลาพัก รูปแบบที่ 2 กำหนดเส้นทางปลอดภัย (ถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7) และกำหนดจุดพักและเวลาพักโดยหยุดพักย่อยขาไป 2 ครั้งและขากลับพัก 2 ครั้งๆ ละประมาณ 13-15 นาที รูปแบบที่ 3 กำหนดเส้นทางปลอดภัย (ถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7) และกำหนดจุดพักและเวลาพัก หยุดพักย่อยขาไปพัก 1 ครั้งและขากลับพัก 1 ครั้งๆ ละ ประมาณ 25-27 นาที ผลการทดสอบรูปแบบการพัก พบว่า 1.) การเดินทางไปกลับในแต่ละเที่ยวมีระยะทางประมาณ240 กิโลเมตรและมีระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานเฉลี่ยต่อวัน 719.31±87.71 (609-947) นาที หรือประมาณ 12 ชั่วโมง รูปแบบที่ 1 คนขับมีความล้ามากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความล้าที่ตรวจวัดด้วยเครื่อง CFF และแบบสอบถามความล้าเชิงจิตพิสัย ร้อยละ 60 และ 20 ตามลำดับ 2) พบว่ามีความชุกของความล้าเฉพาะที่ตรวจวัดด้วยเครื่อง CFF เท่านั้น ร้อยละ 40 และ 20 (ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Z-test for proportion difference พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ในรูปแบบที่ 1, 2 และ 3 ในพนักงานขับรถขนส่งสารเคมี Output / Outcome ได้ค่าเวลาพักสำหรับการขับรถที่มีระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตร และมีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยต่อวันประมาณ 12 ชั่วโมง เท่ากับ 53 นาที โดยพบว่ารูปแบบการพักรถแบบที่ 3 มีความล้าน้อยที่สุด ซึ่งกำหนดเส้นทางเดินรถในเส้นทางถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ต่อด้วยถนนกาญจนาภิเษก มีการหยุดพักย่อยรวม 2 ครั้ง ได้แก่ ขาไปพัก 1 ครั้งและขากลับพัก 1 ครั้ง ที่ศูนย์บริการทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 กิโลเมตรที่ 49 ทั้งขาไปและขากลับ โดยมีเวลาพักแต่ละครั้งประมาณ 25-27 นาที

References

กระทรวงคมนาคม. (2556). รายงานการวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนนประจำปี 2555. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2556 จาก http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1230/131208001230.pdf

กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2556). ข้อมูลสถิติคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2556 จาก http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/stat/total_dlt/

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (2544). คู่มือการขนส่งวัตถุอันตราย. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2557 จาก http://infofile.pcd.go.th/haz/haz_trans.pdf?CFID

=21326286&CFTOKEN=38103172

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). คู่มือการประสานงานและบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของหน่วยงานเครือข่ายระดับชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). คู่มือการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

กิตติ อินทรานนท์ (2548). การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุณฑลีย์ บังคะดานรา, สรา อาภรณ์, อรวรรณ แก้วบุญชู, และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการทางานของพนักงานขับรถบรรทุกสารเคมี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 62-71.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี. (2554). แผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทร์จิรา ความรู้, และชนกพร จิตปัญญา. (2548). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความง่วงในพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชรินทร์พร ธนศุภานุเวช. (2557). โรคต้องห้ามสำหรับการขับขี่รถ. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2558 จาก http://trat.dlt.go.th/new_sara/sara57_7.doc

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022