นวัตกรรมทางสังคมในการจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะชุมชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี ธีระวงศ์ภิญโญ
  • นพดล ธีระวงศ์ภิญโญ
  • สาคร ปลื้มรัมย์

คำสำคัญ:

ขยะ, การคัดแยกขยะ, การเพิ่มมูลค่าขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการขยะชุมชนและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าขยะชุมชนรองรับการท่องเที่ยว โดยใช้วิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศและยังมีกระบวนการเปรียบเทียบกฎหมาย ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกและมีการจัดเวทีการสนทนากลุ่ม เพื่อนำมาวิเคราะห์ทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากการศึกษาวิจัย พบว่า แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายท้องถิ่น เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แต่กฎหมายดังกล่าวนั้นมุ่งเน้นการจัดการขยะที่ปลายทาง จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดหน้าที่ให้กับรัฐและราชการส่วนท้องถิ่นแต่เพียงฝายเดียวในการจัดการขยะตั้งแต่เก็บ ขน และกำจัดขยะ แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางอย่างชัดเจนดังเช่นต่างประเทศ ถึงแม้จะมีกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 ข้อ 5 ที่ให้ผู้ก่อมูลฝอยต้องคัดแยกมูลฝอยและให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อกำหนดของท้องถิ่นให้มีการคัดแยกมูลฝอย แต่กลับพบว่า ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่ออกข้อกำหนดท้องถิ่นในการคัดแยกมูลฝอยภายใต้กฎหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงส่งผลให้ไม่มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจึงมีขยะตกค้างในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะช่วงเทศการท่องเที่ยวต่าง ๆ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงเสนอแนวทางกฎหมายในการจัดการขยะชุมชน โดยให้ท้องถิ่นออกมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมให้ครัวเรือนและสถานประกอบการในที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งตามประเภท และสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะโดยวิธีการลดค่าธรรมเนียมในการเก็บขยะชุมชนลง แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ปฏิบัติตามก็มีบทลงโทษ นอกจากนั้นต้องมีมาตรการส่งเสริมไปพร้อม ๆ กันด้วยวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงมูลค่าขยะแต่ละประเภทเมื่อคัดแยกแล้วสามารถนำไปขายได้ราคา หรือส่งเสริมการนำมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ในแบบต่างๆ

References

ดำหริ กำปั่นวงษ์. (2562). การจัดการขยะเหลือศูนย์โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคี เขตเทศบาลเมืองหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 9(3), 236-244.

พัชรนันท์ รักพงษ์ไทย. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการนำขยะมูลฝอยจากครัวเรือนประเภทพลาสติกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รณัน จุลชาต. (2560). แนวทางการจัดการและปลูกจิตสานึกของคนเมืองในการคัดแยกขยะ. กรุงเทพฯ: หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจัก.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุศรา สาวังชัย. (2555). ยุทธศาสตร์การจัดการขยะเกาะภูเก็ต กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

อำนวย บุญรัตน์ไมตรี (2544). การจัดทำบริการสาธารณะร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีการจัดการขยะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?

buriramguru. (2019). เปิดสถิตินักท่องเที่ยวเยือนเมืองบุรีรัมย์ 2552-2561. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 จาก http://www.buriramguru.com/traffic-tourist-buriram-2010-2018/

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022