ภาวะผู้นำ แบบ Inclusive Leadership ต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ ช่วงสถานการณ์ COVID-19 : กรณีศึกษาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กิตติกวินท์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบครบวงจร, ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สถานการณ์ โควิด 19, ความสำเร็จทางธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบ Inclusive Leadershipของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดบุรีรัมย์ และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบ Inclusive Leadership ต่อความสำเร็จทางธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดบุรีรัมย์ มีระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวคิด Inclusive Leadership ด้วยค่าคะแนนเฉลี่ยระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีระดับความสำเร็จของธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด 19 อยู่ในระดับสูง โดยมีมิติความสำเร็จด้านการบริหารคน มากกว่ามิติด้านผลประกอบการ อีกทั้งพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวคิด Inclusive Leadership ทั้ง 6 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความสำเร็จทางธุรกิจ โดยองค์ประกอบด้านการอยากรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกมากที่สุดต่อความสำเร็จทางธุรกิจ

References

กมลกานต์ เทพธรานนท์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำ แรงจูงใจภายใน คุณลักษณะ

ของผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ภาวะผู้นำในองค์การ. กรุงเทพฯ.

ณฐวรรณ อัศดรวิเศษ. (2563). Diversity and Inclusion (D&I): ยังจำเป็นในช่วงวิกฤติ COVID-

หรือไม่. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก

https://www.scbeic.com/th/detail/product/7150

ดุษฎี นาคเรือง. (2558). ภาวะผู้นำและทักษะบริหารของผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จใน

การประกอบธุรกิจ กรณีศึกษา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการ ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มีนาคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทย และคนทำธุรกิจ SME.

เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม. เข้าถึงได้จาก

https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/covid19-newnormal-with-sme

ประหยัด แซ่หลิม. (2547). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสําเร็จของการเป็นผู้ประกอบการ

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตธนบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พนิดา ไชยแก้ว. (2559). อิทธิพลภาวะผู้นำของ Generation Y ต่อความสำเร็จทางธุรกิจ

กรณีศึกษา ผู้ประกอบการกลุ่ม Generation Y ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2549). “การศึกษาภาวะผู้นําของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อมไทย”. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 .กรุงเทพฯ.

อัจฉรา อัฏฏาลคุปต์. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Bernadette Dillon & Juliet Bourke. (2016) . The Six Signature Traits of Inclusive

Leadership: Thriving in a diverse new world. Deloitte University Press. Deloitte University.

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022