การจัดการการตลาดและการตลาดดิจิทัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ OTOP นวัตวิถีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
  • รุ่งทิวา ชูทอง

คำสำคัญ:

การจัดการการตลาด, การตลาดดิจิทัล , แหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล 2.เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ทางเฟซบุ๊กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล 3.เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดลให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ทฤษฎี วิเคราะห์สถานการณ์ทางกาตลาด (SWOT ANALYSIS) และส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix) หรือ 4P’sและประมวลผลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) พบว่าแอพพลิเคชั่น Facebook ด้านประเภทเนื้อหา พบว่าส่วนใหญ่ (Generation Baby Boomer)มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดเรื่อง Chatbot ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับเพจ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ QR CORD ทำให้มีความสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด น้อยที่สุดคือการจัดทำและพัฒนา Page Facebook สร้างการรับรู้มากขึ้น อยู่ในระดับมาก

References

พรพรรณ ดาลประเสริฐ (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2865/1/pornphan_tarn.pdf.

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2561). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานทางการตลาด. จุฬาลงกรณ์ปริทรรศ, 41(159), 1-32.

อานันท์ ตะนัยศรี. (2555). วิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จากhttp://ophbgo.blogspot.com/

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022