อัตลักษณ์ ปัญหา และอุปสรรคการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ หัตถกรรม
  • กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
  • การุณย์ ประทุม

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์,, การสื่อสารทางการตลาด, แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารทางการตลาดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสนทนากลุ่มแบบกลุ่มขนาดเล็ก เครื่องมือในการวิจัยเป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย คำถามนำ คำถามหลัก และคำถามสรุป ผลการวิจัยพบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท มีอัตลักษณ์คือเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 ปี (ที่ตั้งอยู่ใกล้ลำธารปราสาทซึ่งถือเป็นลำน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 ของแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของประเทศ) ที่มีขนาดใหญ่และมีอายุที่เก่าที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่างซึ่งจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งประกอบด้วยหลุมขุดค้น 3 หลุม ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารการตลาดของแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จากการให้ค่าถ่วงน้ำหนักพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เป็นปัญหาสำคัญคือ งบประมาณในการสื่อสารการตลาดมากที่สุด ถึงร้อยละ 30 ลำดับต่อมาคือ ความหลากหลายของการสื่อสารการตลาด ร้อยละ 25 เนื้อหาของการสื่อสาร ร้อยละ18.33 รองลงมาคือ ระยะเวลาในการเผยแพร่สื่อสารการตลาด ร้อยละ 7.5 และลำดับสุดท้ายคือ ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 5

 

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่อง
เที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์
ด้านการท่องเที่ยวเดือนมกราคม 2563. ค้นเมื่อ
14 ตุลาคม 2563 จาก,
https://www.mots.go.th/download/
article/article_20200407103037.pdf
กลุ่มโฮมสเตย์บ้านปราสาท. (ม.ป.ป.). อัดสำเนา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2562). การ
อบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอัตลักษณ์
ท้องถิ่นและการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ” ณ
จังหวัดสตูล. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563 จาก,
https://www.tatacademy.com/th/
news/312.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานฉบับ
สมบูรณ์ (Final Report) โครงการพัฒนา
รูปแบบทางธุรกิจของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ของไทย (Sports Tourism) ประจำปี 2560.
ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563 จาก, https://
secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/
policy/article_attach/FinalReport_
SportsTourism2560.pdf.
จรัญ จอมกลาง. (30 สิงหาคม 2563). สัมภาษณ์. ผู้
ประสานงาน. บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา.(2564).
(11 มีนาคม 2564). สัมภาษณ์.
เทียม ละอองกลาง. (2564). (11 มีนาคม 2564).
สัมภาษณ์.
วังน้ำเขียวดอทคอม“แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท.
(2564). “ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท”.
ค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553. จาก ttp://
www.wangnamkheo.com/banprasat.
htm.
ติกาหลัง สุขกุล. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
เพื่อการท่องเที่ยวและพฤติกรรมของนักท่อง
เที่ยวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต,
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2556).
หน้า 55-74.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2563). สัมภาษณ์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่อง
เที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย.
กรุงเทพฯ : ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). แฉหลักฐานโบราณคดี
หลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทยแอ่งอารย ธรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว ททท. (TATIC).
(2563). การสำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยว
ภายในประเทศของชาวไทย เดือน
ธันวาคม 2563. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564
จาก, https://web.facebook.com/Intelli
genceTAT/posts/3538141242898071?_
rdc=1&_rdr

อุทัย ทัพกลาง. (2564). (11 มีนาคม 2564). สัมภาษณ์.
เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บ้านปราสาท. (ม.ป.ป.).
อัดสำเนา.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive
destination in the future.Tourism
Management. Vol. 21 No.1. pp. 97-116.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory
Text. Sydney: Hodder Education.
Erving Goffman. (1963). Stigma: Notes on the
Management of Spoiled Identity.
Englewood Cliffs NJ: Prentice Hall.
Krungthai Compass. (2020). เจาะพฤติกรรมท่อง
เที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำ
ชีวิตเปลี่ยน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์, ค้นเมื่อ
14 ตุลาคม 2563 จาก,
https://krungthai.com/Download/
economyresources/EconomyResources
Download_เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน_
New_Normal_เมื่อโควิดทำชีวิต
เปลี่ยน_31_08_63.pdf

เผยแพร่แล้ว

03-02-2020