การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การปรับตัว, กลยุทธ์, ธุรกิจโรงแรมบทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารธุรกิจโรงแรมในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรม ตามแนวทาง BSC ที่ใช้เป็นกรอบแนวคิด 2. สร้างรูปแบบบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมในอนาคต ผ่านกระบวนการ TOWS Matrix ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งนำไปต่อยอดในการกำหนดกลยุทธ์การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานีภายใต้วิกฤติการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 ผลการศึกษาพบว่า ตามแนวทาง BSC ด้านการเงิน ควรมีแหล่งเงินทุนจากภายนอก และจัดสรรเงินทุนสำรองในองค์กรให้เหมาะสม ด้านลูกค้า ควรเพิ่มความหลากหลายของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ และเน้นคุณภาพการบริการ ด้านกระบวนการภายใน ต้องมีการกำหนดหน้าที่ภาระอย่างชัดเจน และลดความซับซ้อนในสายการบริหาร ด้านการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร ต้องมีการฝึกอบรมตลอดเวลาเพื่อการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด และสามารถทำงานได้หลายหน้าที่
References
เศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม
2564
ชวลีย์ ณ ถลาง วัฒนา ทนงค์แผง. (2560). รูปแบบการ
บริหารจัดการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เขตพื้นที่
จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี(3),
1-17.
พรรณิภา ซาวคำ. (2559). กลยุทธ์การบริหารจัดการ
ภายในโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็ก
ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสาร
วิทยาลัยดุสิตธานี(1), 89-104.
นวิทย์ เอมเอก, สุทธิพร บุญมาก ปาริฉัตร ตู้ดำ. (2560).
สถานการณ์ กลยุทธ์และการปรับตัวของผู้
ประกอบการธุรกิจที่พักในพื้นที่สามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
และศิละ(3), 800-818.
กรวรรณ สังขกร, นิเวศน์ พูนสุขเจริญ ศันสนีย์ กระจ่าง
โฉม. (2554). กลยุทธ์การปรับตัวของภาคการ
ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนภายใต้
วิกฤติการณ์การระบาดโควิด19. วิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์(1), 1-20.
ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนัก
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
พิบูล ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept