แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา ลาวงศ์
  • อรรถกร จัตุกูล
  • ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์
  • ปัญจมาพร ผลเกิด
  • วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, อัตลักษณ์ท้องถิ่น, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ในอนาคต นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการของหน่วยธุรกิจที่สูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ วิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สถิติเชิงคุณภาพ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทผลิตภัณฑ์ รูปแบบการดำเนินงาน ขนาดของธุรกิจ และรายได้ต่อเดือน จำนวนกลุ่มวิสาหกิจที่ตอบแบบสอบถาม 11 คน สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ เพศชาย 2 คน เพศหญิง 9 คน มีอายุ 41-50 ปี จำนวน 9 คน อายุ 51-60 ปี จำนวน 2 คน การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน มัธยมศึกษา จำนวน 3 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรจำนวน 1 คน รับจ้างทั่วไป จำนวน 10 คน มีประเภทผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 2 คน งานหัตถกรรม จำนวน 9 คนรูปแบบการดำเนินงานเป็นแบบวิสาหกิจรูปแบบเดี่ยว จำนวน 2 คน วิสาหกิจรูปแบบเครือข่าย จำนวน 9 คน ขนาดของธุรกิจเป็นขนาดเล็ก (ไม่เกิน 30 คน)และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 5,001-10,000 บาทจำนวน 1 คน 10,001-15,000 บาท จำนวน 9 คนและมากกว่า 15,001 บาทขึ้นไปจำนวน 1 คน
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านรูปแบบ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เหมาะสมที่จะนำไปเป็นของฝาก ของที่ระลึก 2) ด้านบรรจุภัณฑ์ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ราคามีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับปริมาณ 3) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีหน้าร้านหรือฝากขายตามร้านขายของฝากของจังหวัด และ 4) ด้านภูมิปัญญา ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีลักษณะการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบรูปร่าง รูปทรง มีอัตลักษณ์ลวดลายเฉพาะตน ไม่ซ้ำใคร
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านความได้เปรียบเรื่องต้นทุน ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีพัฒนาพนักงานให้ใช้ความรู้ ทักษะด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน เช่น เข้าอบรม การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานราชการ เป็นต้น 2) ด้านคุณภาพ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า 3) ด้านนวัตกรรม ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีการแสวงหาวิธีการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ 4) ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สามารถส่งมอบสินค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

References

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555). ทำดีเพื่อเจ้าพ่อหลวง
: เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: กรม
วิทยาศาสตร์บริการ.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2551). ทฤษฎีการบริหารตาม
แนวคิดของปราชญ์ตะวันตก. กรุงเทพฯ:
ปัญญาชน.
ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ ก้องเกียรติ มหาอินทร์ และ
พจนา นูมหันต์. (2551). การออกแบบและ
พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์
จากผ้าไหมสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและการ
ออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลพระนคร.
ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์. (2551). รายงานวิจัย เรื่อง การ
ออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์จากผ้า
ไหมสุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พระนคร.
นพรัตน์ กูมิวุฒิสาร. (2543). การจัดการส่งเสริมการ
ตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัทธนัย ประสานนาม. (2550). อ้างถึงใน http://mad
cmu.multiply.com/journal/item/8 สืบค้น
เมื่อ 22 ตุลาคม 2553
ปิติ มณีเนตร. (2552). การใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่นให้
เกิดเอกลักษณ์ใหม่สำหรับส่งเสริมการท่อง
เที่ยวในชุมชนที่การท่องเที่ยวซบเซา. รายงาน
การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปลื้มใจ สินอากร บัณฑิต ผังนิรันทร์ และอรุณรุ่ง วงศ์
กังวาน. (2554). “บุพปัจจัยของความสำเร็จ
ใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อุตสาหกรรม
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในเขตกรุงเทพและ
ปริมณฑล.”จุลนิพนธ์ตามหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ
ทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง (2545). วิธีวิทยาการวิจัย
การออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548.
(2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
พัชสิรี ชมพูคา. (2553). องค์การและการจัดการ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.
พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ: โอ
เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2546). หลักการตลาด.
กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2556). “แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ
ประสิทธิผล”. www.trdm.co.th สืบค้นคืน
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561.
วิทวัส รุ่งเรืองผล (2545). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ
: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. (2546). “การพัฒนาวิสาหกิจ
ชุมชนในต่างประเทศและในบริบทของไทย”
คำบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัย
เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชน : ภาค
เหนือตอนบน ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิต
ทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการ
บริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : ธีรนฟิล์มพัฒนา
จำกัด.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2547). การบริหารการ
ตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรม องค์การ. กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.
สรวงพร กุศลส่ง. (2553). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ มุกบ้านติ้วเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์.” พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2538). นโยบายผลิตภัณฑ์และ ราคา. ประกายพรึก.
สุปัญญา ไชยชาญ. (2543). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
อัจฉรา มลิวงค์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). “รูป แบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ ตําบล
แม่ทะ อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง.” เอกสาร
การประชุมวิชาการและ การนําเสนอผล
งานวิจัยระดับชาติ แม่โจ้-แพร่ วิจัย ครั้งที่ 2,
จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ลําปาง, ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัย แม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อําเภอร้องกวาง
จังหวัดแพร่, 1-2 กันยายน.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวน ทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: ไทเกอร์
พริ้นติ้ง.
¬¬¬¬¬¬¬¬______ (2546). อัตลักษณ์ : ทบทวนทฤษฎี
และกรอบแนวคิด. กรุงเทพ : คณะกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สํานักงาน
คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557). รายงานวิจัยเรื่อง รูป
แบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้าน
บางหัว เสือตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอ
เพียง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
กรุงเทพ.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development
from Concept to Marketplace. CRC
Press, Inc. USA : Boca Raton, Florida.
¬¬¬¬¬¬______ (1998). New Product Develop
ment from Concept to Marketplace.
CRC Press, Inc. USA: Boca Raton, Florida.
Hall S. & du Gay P.(eds) (1996). Questions of
Cultural Identity, London, Sage Publi
cations.
Jenkins, R. (2008). Social identity. 3 rd ed. New
York: Routlede.
Kotler, Philip.: Armstrong. (2007). Marketing: an
introduction. Saddle River, N.J.:Pren
tice-Hall, Inc.
Littlejohn, Stephen W. & Foss, Karen A. (2008).
Theories of Human Communication. 9th
edition. Belmont, CA.: Thomson/Wad
sworth.
Porter, Michael E. (1980). Competitive Strategy.
New York : The Free Press.

เผยแพร่แล้ว

06-05-2021