กลยุทธ์การปรับตัวของนักศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จันทิราพร ศิรินนท์
  • นลินทิพย์ พิมพ์กลัด
  • พิสมัย ประชานันท์
  • อัจฉรา หลาวทอง
  • ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล
  • จตุพร จันทารัมย์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การปรับตัว, คุณลักษณะความเป็นพลโลกศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของนักศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาทุกสาขาวิชาของคณะวิทยาการจัดการ จำนวนทั้งสิ้น 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวด้านร่างกายของนักศึกษาโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนในทางที่ดีขึ้น นักศึกษามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีการตอบรับต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และนักศึกษามีความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์มากขึ้นตามเหตุการณ์ต่าง ๆ กลยุทธ์การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ของนักศึกษาโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  นักศึกษารู้จักเก็บรักษาและแสดงภาพลักษณ์ของตนเองในทางที่ดีอยู่เสมอ นักศึกษามีมุมมองความคิดที่ต่างไปจากเดิมพิจารณาไตร่ตรองเหตุการณ์บ้านเมืองได้อย่างกว้างขวาง และนักศึกษามีความมั่นใจต่อบุคลิกภาพที่ดีขึ้นของตนเอง กลยุทธ์การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นักศึกษาให้ความสำคัญต่อบทบาทหน้าที่ของการเรียนเป็นอันดับต้น ๆ นักศึกษามีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อการศึกษาเล่าเรียนได้อย่างสมเหตุสมผล และนักศึกษาสามารถวิเคราะห์ทางเลือกในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การปรับตัวด้านการพึ่งพาอาศัยของนักศึกษาโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด นักศึกษาเลือกเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ต่อเพื่อนนักศึกษาได้ นักศึกษาเลือกที่จะทำงานกลุ่มหรือกิจกรรมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และนักศึกษารู้จักปรับตัวเพื่อเข้าหาสังคมมากกว่าการอยู่เพียงลำพัง     กลยุทธ์การปรับตัวของนักศึกษามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อตัวแปรด้านการตระหนักถึงสถานการณ์ของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข และด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนกลยุทธ์การปรับตัวของนักศึกษาในเชิงบวกต่อตัวแปรด้านการลงมือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และด้านการประพฤติตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ณัฐวุฒิ ศรีวัฒนาวานิช. (2556). การวิจัยเรื่องการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะ
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงสิริ วิชิรานนท์ (2556). คุณลักษณะพลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นันทิชา บุญละเอียด. (2554). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต,
คณะวิทยาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิรมล สุวรรณโคตร (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปริญญานิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นันทนพ เข็มเพชร และคณะ. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปี
ที่ 1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. ปีที่ 8
ฉบับที่ 2 (ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม).
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยแนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์
ไออินเตอร์มีเดีย.
ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล : (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2563). จำนวนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ
ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ
1 พฤษภาคม 2562 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/
A/057/T_0054.PDF.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557.
Cogan, J. J. and Derricott, R. (2000). Citizenship for the 21th Century: an International Perspective on Education. London: Kogan page.
Cronbach, L J. (1984). Essentials of Psychological Test. 3rd ed. New York: Harper and Row.
Roy, C., Sr. and Andrews, H. A. (1999). The Roy Adaptation Model. 2nd ed. Stamford, Connecticut: Appletion & Lange.
Yamane, T. (1973). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.

เผยแพร่แล้ว

03-07-2020