การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดนตรี สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การจัดการเรียนรู้ดนตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดนตรีในโรงเรียน ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สถานที่ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนพิมรัฐประชาสรรค์ โรงเรียนนางรอง โรงเรียนละหานทรายวิทยา โรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม โรงเรียนพุทไธสง โรงเรียนปะคำพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนมีปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ดนตรี เนื่องจากสภาพความพร้อมทางด้านครูผู้สอนและครุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางดนตรี จึงส่งผลต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนไม่เกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง กระบวนการจัดการเรียนรู้ดนตรีที่พัฒนาขึ้น จัดทำคู่ขนานกับการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดนตรีแบบ Comprehensive Musician ship จัดสนทนากลุ่มเพื่อสะท้อนความคิดเห็น และให้ความรู้ โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดนตรีในโรงเรียน โดยใช้รูปแบบ Comprehensive Musician Ship ดีขึ้น เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้อง ชัดเจน กำหนดวิธีสอนได้สอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเห็นว่าระบบติดตามประเมินผล ทำให้เกิดความกระตือรือร้น ครูได้รับการพัฒนา ได้ประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน ได้ช่วยเหลือกันทำงาน มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน และเกิดความมั่นใจในการทำงานยิ่งขึ้น แสดงว่าระบบติดตามประเมินผลการพัฒนาครูทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสัมฤทธิ์ผล บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
References
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546.
ทิศนา แขมมณี. (2548 ข). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
. (2545). สาระดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2561). สังคีตนิยม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2555). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2542). ทฤษฎีดนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นภดล ทิพยรัตน์. (2545, เมษายน). “ การจัดประสบการณ์ดนตรีเพื่อความเป็นนักดนตรีที่สมบูรณ์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ 14(1). 17-23
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การสอนในระดับอุดมศึกษา. สารานุกรมศึกษาศาสตร์: (603-612) กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.
สุกรี เจริญสุข และคณะ. (2540). โครงการพัฒนาสุขภาพการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัย ศิลปะ ดนตรี กีฬา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุภางค์ จันทวานิช. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
2562. บุรีรัมย์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept