ธุรกิจนวดแผนไทยและความสำเร็จในการช่วงชิงความได้เปรียบด้านความโดดเด่นทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวในเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • บัญชา จันทราช
  • ปรีชา ปาโนรัมย์
  • ธนกร เพชรสินจร
  • ชุมพล รอดแจ่ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพของธุรกิจนวดแผนไทย  ความพึงพอใจในการมาใช้บริการจากธุรกิจนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจนวดแผนไทยในการช่วงชิงความได้เปรียบด้านความโดดเด่นของการท่องเที่ยวในเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มธุรกิจนวดแผนไทย จำนวน 30 คน จาก 6 อำเภอ กลุ่มที่ 2 นักท่องเที่ยวจำนวน 394 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 200 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและสอบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า  ธุรกิจประเภทนวดแผนไทยในเขตเมืองนางรองที่ขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจมีจำนวน 15 แห่ง สภาพของร้านคือ เปิดบริการภายในโรงแรม และเช่าสถานที่ภายในตัวอำเภอเพื่อเปิดบริการโดยเป็นห้องเดี่ยว หรือ ห้องแถว ส่วนภายในห้องจัดเป็น 2 แบบ คือ เป็นห้องรวมไม่มีเตียงแต่แยกฟูก สำหรับการนอนนวดมีผ้าม่านปิดกั้น และ เป็นห้องเดี่ยว โดยส่วนมากใช้วิธีการนวดปะคบ และนวดตัว ลักษณะวิธีการนวดนั้นส่วนมากจะใช้รูปแบบการนวดคือ การนวดสายราชสํานัก  หรือ การนวดแบบเชลยศักดิ์ ซึ่งส่วนมากจะเรียนมาจากสายวัดโพธิ์ และราคาการให้บริการจะอยู่ที่ คอร์สละ 200 ถึง  300 บาท ส่วนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศส่วนมากมีความพึงพอใจต่อการมารับบริการอยู่ในระดับ มาก และรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจนวดแผนไทยหากจะให้โดดเด่นควรมีการพัฒนาสิ่งต่อไปนี้ อันดับที่ 1 วิธีการนวด (ควรนวดตามความหนักเบาที่ผู้ใช้บริการต้องการ, เน้นเฉพาะจุดสำคัญเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย) อันดับ 2 การจัดร้าน อันดับที่ 3 บรรยากาศการนวด (ควรเงียบสงบ, กลิ่นห้องนวดหอม) อันดับที่ 4 ความสะอาดของผู้นวด และ อันดับที่ 5 การให้เกียรติผู้มารับบริการ (ไม่ควรสอบถามหรือพูดคุยกับลูกค้ามากเกินไป) เป็นต้น

References

บรรณานุกรม

กระทรวงสาธารณสุข. (2547). คูมือผูดําเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. องคการสงเคราะหทหารผานศึก,
กรุงเทพฯ.
เพ็ญนภา ทรัพยเจริญ และบุญเรือง นิยมพร. (2544). การประยุกตใชทฤษฎีการแพทยแผนไทย
ในการใหบริการผูปวยในระบบสาธารณสุขของรัฐ. กระทรวงสาธารณสุข.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2545). ความสำเร็จของธุรกิจการนวดแผนไทย ในอำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
วุฒิพร ศรีมังกรแก้ว. (2547). การนวดแผนไทย : ศึกษากรณีศูนย์บริหารสาธารณสุขเทศบาลนคร
ขอนแก่น. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา.
เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

เผยแพร่แล้ว

09-07-2018