แนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศ : ข้อค้นพบในตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กุลกันยา ศรีสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการจัดการพัฒนาระบบสารสนเทศ และแนวทางในการจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศของตำบลอิสาณ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ใช้งานด้านสารสนเทศในเขตเทศบาลตำบลอิสาณ จำนวนทั้งหมด 30 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี เป็นผู้ใช้งานด้านสารสนเทศในเขตเทศบาลตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเรื่อง ระบบสารสนเทศ จากสภาพปัญหาด้านทรัพยากรเกี่ยวกับสารสนเทศที่ใช้อยู่ โดยภาพรวมแล้วมีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีปัญหาที่เกิดขึ้นมาก คือ มีเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดระบบสารสนเทศค่อนข้างน้อย ด้านกระบวนการในการจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศที่ใช้อยู่ โดยภาพรวมแล้วมีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีปัญหาที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่  การปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ด้านฐานข้อมูลสารสนเทศที่ใช้อยู่ โดยภาพรวมแล้วมีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลางโดยมีปัญหาที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่  ความรวดเร็วในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาคือ ด้านทรัพยากร  ควรมีการวางแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างเป็นขั้นตอน  จัดอบรมบุคลากรด้านวิชาการ และการวิเคราะห์ข้อมูล  ภายหลังจากที่มีการจัดอบรมแล้ว ควรจัดให้มีอุปกรณ์ /เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และเพียงพอ และมีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาตำบล  และควรที่จะมีระบบในการส่งเสริมให้พนักงานมองเห็นถึงความสำคัญในการจัดระบบสารสนเทศ  ด้านกระบวนการ  ควรมีการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตและการใช้บริการข้อมูล โดยให้มีการวางแผนการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลจัดทำระบบสารสนเทศ มีการกำหนดคำนิยาม รายการข้อมูลให้ชัดเจน มีการควบคุม ตรวจสอบข้อมูลเป็นระยะและต่อเนื่อง และต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่ต่อเนื่อง

 

ด้านฐานข้อมูล  ควรมีการสำรวจความต้องการใช้ข้อมูล แล้วจัดเก็บข้อมูลให้ครบทุกสาขาครอบคลุมทั้งระบบ มีการจัดตั้งทีมจัดเก็บข้อมูลที่มีความรับผิดชอบ และมีความชำนาญในการดำเนินการ มีระบบการสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญหายและผิดพลาด  และที่สำคัญควรมีระบบการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลที่สำคัญและข้อมูลที่เป็นความลับ  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นให้ทันสมัยอยู่เสมอ  มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสถิติระดับท้องถิ่น มีการเปิดให้บริการข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลเป็นเอกสาร แผ่นซีดี และ Web Site รวมทั้งการจัดตั้งทีมตรวจสอบ ติดตามผลการปฏิบัติงาน รวมทั้ง ควรทำการสำรวจและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบตามแผนการปฏิบัติงาน แล้วจัดทำระบบจัดการข้อมูลที่ดีและมีมาตรฐาน 

References

บรรณานุกรม

จารุวรรณ นาดัน. (2552). สภาพการดำเนินงานและความคาดหวังในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. อุตรดิตถ์ :
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิษถ์.
สายัณห์ เสถียรบุตร. (2546). สภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ
การศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
สมชาย กองหนู. (2548). รูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศในสถานศึกษาสังกัด
เทศบาลจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.
สุขุม พรมเมืองคุณ. (2551). ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำท้องถิ่น
ในจังหวัดขอนแก่น. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

เผยแพร่แล้ว

14-09-2018