การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการการปฏิบัติงาน ของกองประชุมและพิธีการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • บุญตา แสนกล้า

คำสำคัญ:

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทผล, การให้บริการการปฏิบัติงาน, กองประชุมและพิธีการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการการปฏิบัติงานของกองประชุมและพิธีการ  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เพื่อศึกษาความต้องการและความคิดเห็นของนักศึกษา  บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เกี่ยวกับการให้บริการการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค  ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการของกองประชุม และพิธีการ  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  และเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการการปฏิบัติงาน  จำแนกตามเพศ  และสถานะ   กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักศึกษา  บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   จำนวน  125  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3  ลักษณะ  คือ   แบบตรวจสอบรายการ  (Check List)  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  Scale)  5  ระดับ  และแบบปลายเปิด  (Open-ended  Form)  สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบสมมติฐานโดยการสมมติค่า  t-test  Independent  และ  F-test  เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟฟ  กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ  .05  ผลการศึกษาพบว่า :

  1. การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการการปฏิบัติงานของ              กองประชุมและพิธีการ  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   โดยภาพรวม                อยู่ในระดับมาก  (= 4.42)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน  โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ด้านบุคลากร  (= 4.47)  รองลงมา  คือ  ด้านเอกสาร/ข้อมูล  (= 4.44)  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  ด้านสถานที่  (= 4.36)
  2. ผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการ             การปฏิบัติงาน ของกองประชุมและพิธีการ  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์             ที่มีเพศต่างกัน   โดยภาพรวมและรายด้าน  ไม่แตกต่างกัน

            3  ผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการ              การปฏิบัติงานของกองประชุมและพิธีการ  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์               ที่มีสถานะต่างกัน  โดยภาพรวมและรายด้าน  ไม่แตกต่างกัน

  1. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีจำนวนมากที่สุด  คือ  ควรมีการจัดลำดับในการเข้ารับบริการเพื่อเป็นแรงจูงใจให้การมาติดต่อได้รับความสะดวกมากขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 27.27  รองลงมา  คือ  ควรมีระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีเวลาการเตรียมการมาประชุม  คิดเป็นร้อยละ  22.73   และควรมีข้อแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสม ในการให้บริการการปฏิบัติงาน  คิดเป็นร้อยละ 18.18 

 

References

กนกนาค หงส์สกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบริการงานชันสูตรพลิกศพในโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กลุ่มงานบริการสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.รายงานการวิจัย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนิตา ไกรเพชร. (2555). การพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญ์ณณัช รุ่งโรจน์สุวรรณ. (2553). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพนักงานบริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์. บธม. (การจัดการสาธารณะ). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พงษ์ไพบูลย์ ศิลาวราเวทย์ และทิฆัมพร คุ้มวงศ์. (2551). รายงานวิจัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการจกเทศบาลตำท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560. จาก http ://lib.kru.ac.th/rOil//uploads/cccc/101.doc.
พรรณนิภา สุขคี้ (2559). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน 3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาวิตรี แถมเงิน. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาล ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัครวัฒน์ นิธิจิรวงศ์. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามแผนปฏิบัติงานฝ่ายเทศกิจ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ร.ม. (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

02-11-2020