ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, นักศึกษาและอาจารย์, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและระดับความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 และอาจารย์ ที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่คือ นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 189 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรทุกด้าน พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษามีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มีระดับความเห็นด้วยมากที่สุด เป็นอันดับแรก คือ ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.92 อันดับสอง มี 2 ด้าน คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.91 อันดับสาม คือ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.90 อันดับสี่ คือ ด้านการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4. 81 และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.80 และผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตรทุกด้าน พบว่า การบริหารจัดการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.99 อยู่ในระดับมากที่สุด การบริหารและพัฒนาอาจารย์ มีค่าเฉลี่ย 4.97 อยู่ในระดับมากที่สุด กระบวนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.97 อยู่ในระดับมากที่สุด และนักศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.88 อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะของนักศึกษา ได้แก่ อยากเก็บชั่วโมงหรือฝึกประสบการณ์นอกเวลาเรียนที่ไม่ใช่รายวิชาฝึกงานในสนามบิน บริษัททัวร์ ร้านอาหารหรือโรงแรม อยากให้มีห้องปฏิบัติการงานครัว และอยากให้มีเรียนวิชาภาษาต่างประเทศมากกว่าหนึ่งภาษา เช่น เกาหลี จีน เป็นต้น ข้อเสนอแนะของอาจารย์ ได้แก่ อยากให้มหาวิทยาลัยจัดสรรงบประมาณและมีนโยบายให้อาจารย์ผู้สอนได้ไปอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพระยะสั้น เช่น 1-3 เดือน ที่ต่างประเทศ เป็นต้น และอยากให้มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาต่างประเทศที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เช่น จีน รัสเซีย เกาหลี มาอยู่ในฝ่ายวิเทศสัมพันธ์เพื่อที่ทางสาขาวิชาจะได้เชิญมาเป็นวิทยากรสอนเพิ่มเติมให้กับนักศึกษาเพื่อหนุนเสริมศักยภาพและทักษะด้านภาษาอื่น ๆ ได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept